กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ บ้าน โรงเรียน ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย อสม.รพสต.ตาฆอ ปี 2566
รหัสโครงการ ?
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.ตาฆอ
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 52,505.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสิรินดา มือและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5- 50 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและกลุ่มวัยทำงานการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนสำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดนสงขลา  มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน 617 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 15.78 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (ข้อมูล 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2565 ) ในปี 2565 อำเภอสะบ้าย้อย มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน 39 ราย พบว่ามีอัตราการป่วย 50.80 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี จำนวน 21 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 11.74 ต่อประชากรแสนคน มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว  ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และ ผู้นำชุมชน ช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่นการรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียนนักเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
แต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก  ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดนสงขลา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกัน  โรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มอายุ 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มี ศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่1 จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก
1.ค่าไวนิลโครงการขนาด 2 เมตร x 2.4 เมตร
  จำนวน 1 ผืน x ผืนละ 600 บาท เป็นเงิน  600  บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 35 บาท
  จำนวน 2 มื้อ X จำนวน 85 คน      เป็นเงิน 5,950 บาท
3.ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 80 บาท
  จำนวน 1 มื้อ X จำนวน 85 คน      เป็นเงิน 6,800 บาท 4.ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท x เวลา 6 ชม x จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 3,600 บาท

1.6 ค่าเครื่องเขียนในการอบรม
    จำนวน 85 ชุด x ชุดละ 30 บาท            เป็นเงิน 2,550 บาท 1.7 เอกสารในการอบรม
    จำนวน 85 ชุด x ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 1,700 บาท

กิจกรรมที่ 2 เดินขบวนรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน 1. ค่าสื่อในรูปแบบโฟมบอร์ดเรื่องโรคไข้เลือดออด ขนาด 100 ซม X 70 ซม.   จำนวน 10 สื่อ X แผ่นละ 500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
1. ค่าทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย   จำนวน 1 ถัง ถังละๆ 4,850 บาท      เป็นเงิน 4,850 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 35 บาท
  จำนวน 1 มื้อ X จำนวน 63 คน เป็นเงิน 2,205 บาท

กิจกรรมที่3 พ่นหมอกควันในโรงเรียนประถมศึกษา(จำนวน 2 แห่ง) 1. ค่าจ้างพ่นหมอกควันกำจัดลูกน้ำยุงลาย   จำนวน 2 โรง x 2 คน x 300บาท x 4 ครั้ง    เป็นเงิน 4,800 บาท 2. ค่าน้ำยาในการพ่นหมอกควัน
  จำนวน 2 โรง x 500บาท x 4 ครั้ง        เป็นเงิน 4,000 บาท 3. ค่าน้ำมันในการพ่นหมอกควัน   จำนวน 2 โรง x 400 บาท x 4 ครั้ง          เป็นเงิน 3,200 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครูอสม.ผู้นำชุมชนประชาชนทั่วไป มีความรู้เรื่องโครงการรณรงค์ บ้าน โรงเรียน ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย 2.สามารถถ่ายทอดความรู้โครงการรณรงค์ บ้าน โรงเรียน ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย 3.มีการประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์โครงการรณรงค์ บ้าน โรงเรียน ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย 4. ปัญหาโรคโครงการรณรงค์ บ้าน โรงเรียน ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 00:00 น.