กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L8368-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนรักษ์สุขภาพ เทศบาลตำบลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 17 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิเล๊าะ……โต๊ะเจ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 14 มี.ค. 2566 30 มิ.ย. 2566 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันนี้ แม้การแพทย์จะสามารถเอาชนะโรคร้ายต่างๆมากมาย ทำให้ประชากรโลกรอดพ้นจากการเจ็บป่วยเหล่านั้นและมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่จำนวนคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเรียกรวมกันว่า เมตะบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เป็นโรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนอ้วน เพราะอุปนิสัยการกินอยู่ที่เปลี่ยนไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงในการใช้ชีวิตประจำวัน กินอาหารที่มีไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันที่สะสมอยู่ที่พุงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นตัวนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จากสถิติจังหวัดนราธิวาสมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานทั้งหมด ๖๕,๖๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๔๗ และ ๒๑,๘๐๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๘๑ ตามลำดับ อำเภอศรีสาครมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานทั้งหมด ๒,๕๘๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๗๔ และ ๖๐๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๕๗ ตามลำดับ (ระบบข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดนราธิวาส ,31 ธ.ค. ๖5) ซึ่งเป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต ในการลดการเกิดของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือดต้องทำโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมทั้งหมดด้วยการรณรงค์เรื่องวิถีชีวิต ทำให้เกิดความตระหนักในอันตรายของอาหารที่ทำให้เกิดความอ้วน อันตรายของชีวิตที่กินๆนอนๆไม่ขยับเขยื้อน ไม่ออกกำลังกาย การปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลให้โรคแทรกซ้อนเกิดเร็วขึ้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลศรีสาคร จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงพฤติกรรมของการเกิดโรค และสามารถรับผิดชอบในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนดำรงรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นโรคอ้วนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโทษภัย ตลอดจนวิธีการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคอ้วน

ร้อยละ 70 ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยวัดจากการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีอัตราการเป็นโรคอ้วนลดลง

ร้อยละ 70 ของจำนวนผู้มีค่า BMIเกิน มีค่า BMI ลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
14 มี.ค. 66 อบรมให้ความรู้เรื่องโทษภัย ตลอดจนวิธีการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคอ้วน 0 21,000.00 -
14 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ประชาสัมพันธ์รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ โดยจัดทำป้ายไวนิลให้ความรู้ติดทุกชุมชนในเขตเทศบาลตำบลศรีสาคร 0 9,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นโรคอ้วนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโทษภัยโรคอ้วน ๒. อัตราการเป็นโรคอ้วนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2566 00:00 น.