กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวัยทำงาน ลดเสี่ยงโรคเรื้อรังตำบลเทพา
รหัสโครงการ 66-L8287-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ หนึ่ง โรงพยาบาลเทพา
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 11,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัชนี แก้วมาก
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลเทพา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 8,000.00
2 8 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 3,900.00
รวมงบประมาณ 11,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงหัวใจหลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดม (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าวซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ ๓๕ ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษารับประทานยาตลอดชีวิต อีกทั้งหากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น

ข้อมูลจากการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มวัยทำงาน ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตำบลเทพา ปี ๒๕๖๔ พบว่า เสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน ๑๕๐ คน เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๓๐๐ คน ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๗๓๘ คน  ป่วยโรคเบาหวานจำนวน ๓๔๔ คน  จากสถานการณ์ของโรคดังกล่าวคลินิกเวชศูนย์1 ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงานจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

๑ อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง ร้อยละ ๕๒
2.อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ลดลง ร้อยละ ๒.๕

2 ๒. เพื่อให้ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

1.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ มากว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๔๐ 2.ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้มากว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๕๐

3 3. เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

1.ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๕๐

4 4. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวานทุกรายที่ผ่านการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหาร ( FBS) และมีค่าน้ำตาล ๑๐๐-๑๒๕ mg%หรือตรวจค่าน้ำตาลในเลือดโดยไม่อดอาหาร ๑๔๐-๑๙๙ mg% ได้รับการตรวจ FPG
  1. กลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวานที่ผ่านการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหาร ( FBS) และมีค่าน้ำตาล ๑๐๐-๑๒๕ mg%หรือตรวจค่าน้ำตาลในเลือดโดยไม่อดอาหาร ๑๔๐-๑๙๙ mg% ได้รับการตรวจ FPG ร้อยละ 85
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 110 11,900.00 0 0.00
8 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงป้องกันโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง 80 8,000.00 -
8 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 30 3,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ ๒. เพื่อให้ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓. เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย
๔. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวานทุกรายที่ผ่านการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหาร ( FBS) และมีค่าน้ำตาล ๑๐๐-๑๒๕ mg%หรือตรวจค่าน้ำตาลในเลือดโดยไม่อดอาหาร ๑๔๐-๑๙๙ mg% ได้รับการตรวจ FPG

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2566 10:36 น.