กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการฝากครรภ์และส่งเสริมสุขภาพเด็กเชิงรุกสู่ชุมชน
รหัสโครงการ 66-L8287-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 1-2
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 10,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัชนี แก้วมาก
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลเทพา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 30 เม.ย. 2566 2,950.00
2 1 เม.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 2,500.00
3 1 เม.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 2,500.00
4 1 เม.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 2,500.00
รวมงบประมาณ 10,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในอดีตสังคมไทยที่เคยเป็นครอบครัวขยายก็กลายเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นการทำงานนอกบ้านของผู้หญิงมีมากขึ้น การดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูลูกในวัยต่างๆตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยเรียนและวัยรุ่น บิดามารดามีเวลาในการเลี้ยงดูลูกน้อยลง สถาบันครอบครัวอ่อนแอจนอาจเกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยส่งผลต่อการพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของเด็กในระยะยาว ปัจจุบันพบว่าจังหวัดสงขลามีอัตรามารดา และทารกเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นจากโรคแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ ( HT DM Thyroid Heart และ PPH)จากการเก็บข้อมูลอนามัยแม่และเด็กจังหวัดสงขลา 3ปีย้อนหลังพบปี63 เสียชีวิต4 ราย ปี64 เสียชีวิต 3 รายปี65 เสียชีวิต 1ราย ส่วนคลินิกเวชปฎิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์1-2 อำเภอเทพา ปี63 ปี64 และปี65ไม่พบแม่เสียชีวิตแต่พบภาวะเสี่ยงดังนี้ ปีงบประมาณ 2563- 2565 พบอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 ร้อยละ 18.19,ร้อยละ 6.47 และร้อยละ 1.85 ตามลำดับ พบอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 หลังจากกินยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก 36.66,ร้อยละ27.27 และร้อยละ 2.44 ตามลำดับ  ทารกน้ำหนักต่ำกว่า ๒๕๐๐ กรัม ร้อยละ12.5,ร้อยละ 8.22 และร้อยละ 9.23 ตามลำดับ มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 74.11 ร้อยละ 55.10และร้อยละ40.56 ตามลำดับ และในปีงบประมาณ 2560-2562 เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 99.30 ร้อยละ 97.20และ98.63 ตามลำดับ
        ดังนั้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพจึงจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์จนกระทั่งมารดาคลอด และดูแลตามวัยจนอายุ 5 ปีให้มีความปลอดภัยทั้งชีวิตมารดาและทารก ตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์1-2 จึงจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก ในพื้นที่เขตรับผิดชอบโดยการสร้างความร่วมมือกับครอบครัว ผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และเด็กพร้อมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เพื่อให้มีภาวะสุขภาพที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.การพัฒนารูปแบบการจัดบริการโรงเรียนพ่อแม่ในคลินิกANC และ WBC

-เกิดรูปแบบการจัดบริการโรงเรียนพ่อแม่แนวใหม่แบบBBL และแบบการมีส่วนร่วม

2 ข้อที่ 2. เสริมพลังหญิงตั้งครรภ์ สามี พ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็ก ในการเลี้ยงเด็กอายุ 0-5 ปี ให้มีคุณภาพ

-ได้รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และการเลี้ยงดูเด็กที่เป็นรูปธรรม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 400 10,450.00 0 0.00
8 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 สนทนากลุ่ม (Focus group) กับ พ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็กอายุ 0-5 ปี เป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนเรื่องการดูแลเด็ก 100 2,500.00 -
8 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ถอดบทเรียนกลุ่มพ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็ก และกลุ่มภาคีเครือข่ายอายุ 0-5 ปีร่วมสะท้อนผลการพัฒนาคุณภาพเด็ก และร่วมประเมินผล 100 2,500.00 -
1 เม.ย. 66 - 24 ต.ค. 66 กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่โดยจัดฐานเรียนรู้คุณภาพชีวิตเด็กแบบมีส่วนร่วม และเสริมพลังแบ่งออกเป็น 4 ฐาน 100 2,500.00 -
8 - 30 เม.ย. 66 แลกเปลี่ยนเรียนรู้หญิงตั้งครรภ์ สามี ร่วมกันคิด ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และร่วมกันออกแบบกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตมารดาและทารก 100 2,950.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง 5 ครั้งตามเกณฑ์ และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดทุกราย
  2. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง
  3. เด็ก 0 – 6 ได้รับด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน
  4. เด็ก 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกช่วงวัย
  5. ไม่มีมารดาเสียชีวิตเกิดขึ้นในพื่นที่PCU1-2
  6. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 10
  7. เด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
  8. หญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด (ต่ำกว่า 37 สัปดาห์) ลดลงร้อยละ 10 เทียบปีที่ผ่านมา
  9. ไม่เกิดภาวะ DFIU ( Death fetus in utero ) หรือไม่เกินร้อยละ 3
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2566 10:58 น.