กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 – 5 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา อำเภอท่าเรือ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 เมษายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุไหวบ๊ะ เกษมสัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (8,550.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันอุบัติเหตุจากการจมน้ำยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งสาเหตุดังกล่าวยังเป็นอันดับแรกการเสียชีวิตของเด็กส่วนใหญ่ของประเทศไทย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข จากช่วงปีที่ผ่านมา ของจังหวัดสตูล พบว่ามีการจมน้ำของเด็ก ยังมีมาเรื่อยตั้งแต่ (พ.ศ. 2558 – ๒๕๖3) พบว่าการจมน้ำของจังหวัดสตูล อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 7.8 คน และในปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 3.7 คน เมื่อร่วมสถิติเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีเสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่งของทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ โดยมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง ๘,๓๙๔ คน เฉลี่ยปีละ ๘๓๙ คน หรือวันละ ๒.๓ คน หากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการตายจากการจมน้ำของเด็ก เพื่อเป็นการป้องกันและการเฝ้าระวังปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ จึงต้องให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน มีทักษะการว่ายน้ำ สามารถช่วยเหลือตนเองหากเกิดเหตุการณ์และรอดจากการเสียชีวิตจากการจมน้ำได้ จำเป็นจะต้องฝึกหัดว่ายน้ำให้ได้ หรือเด็กว่ายน้ำเป็น ยิ่งพื้นที่ของตำบลท่าเรือมีแหล่งแหล่งน้ำต่างๆ มากมาย เช่น ลำคลอง  บ่อเลี้ยงปลา และสระน้ำแหล่งน้ำต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งต้องฝึกให้ครู บุคลากร ผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการช่วยชีวิตคนจากการจมน้ำแบบวิธีการช่วยเหลือตามมาตรฐานสากล โดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ เป็นองค์กรหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๖๗ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (๕) จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการจมน้ำและการช่วยเหลือชีวิตจากการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 - 5 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ เพื่อเป็นการป้องกันก่อนปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและรู้วิธีแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในเด็กวัยนี้ จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 - 5 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กกลุ่มเสี่ยงอายุระหว่าง 3 -5 ปี มีความรู้ทักษะในการว่ายน้ำ

ร้อยละ 30 เด็กทุกคนมีทักษะในการว่ายน้ำ

2 เพื่อให้เด็ก /ผู้ปกครอง มีความรู้ในการช่วยเหลือชีวิตจากจมน้ำตามหลักการช่วยเหลือสากล

ร้อยละ  50 เด็กและผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือผู้จมน้ำได้

3 เพื่อป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 – 5 ปี

ร้อยละ 50 เด็ก 3 - 5 ปี  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กว่ายน้ำเป็นทุกคน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้เด็กกลุ่มเสี่ยงอายุระหว่าง 3 -5 ปี มีความรู้ทักษะในการว่ายน้ำ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้เด็ก /ผู้ปกครอง มีความรู้ในการช่วยเหลือชีวิตจากจมน้ำตามหลักการช่วยเหลือสากล

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 – 5 ปี

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. ขั้นเตรียมการ 4.1 ประชุมกรรมการ     4.2 เขียนเสนอโครงการต่อคณะกรรมการ สปสช.     4.3 ประชุมผู้เกี่ยวข้องชี้แจงการดำเนินโครงการคณะกรรมการ สปสช.     4.4 เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการ ๒. ขั้นดำเนินการ       ๒.๑ กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการวิธีการว่ายน้ำเพื่อเอาตัวรอดจากการจมน้ำและการเล่นน้ำ
              ในชีวิตของเด็ก       ๒.๒ กิจกรรมภาคสาธิตและปฏิบัติจริงของการเล่นน้ำ การจมน้ำ การป้องกันตนเองไม่ให้จมน้ำ ๒.๓ ติดตามระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมทั้งภาคความรู้และภาคสาธิตปฏิบัติ ๓. ขั้นติดตามประเมินผล ๓.๑ ดำเนินการติดตามการจัดกิจกรรม 3.2 ประเมินผลความสำเร็จของโครงการ ๓.๒ รายงานผลความสำเร็จของโครงการกับหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ เด็กและผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 – 5 ปี
๒ เด็กและผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 – 5 ปี และถ่ายทอด
  ความรู้แก่บุคคลอื่นได้ ๓ เด็กและผู้ปกครอง มีความตื่นตัว ตระหนักถึงเรื่องการเสียชีวิตจากการจมน้ำ ๔ เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีทักษะ การเอาตัวรอดจากการจมน้ำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2566 13:37 น.