กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ ส่งเสริมสุขภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิตยา รอเกตุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมื่อต้นปี ๒๕๖๓ กระทรวงสาธารณสุขไทยเปิดเผยว่า คนไทยป่วยด้วย ๕ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันตรายเพิ่มขึ้นนาทีละ ๑ คน โดยในปี ๒๕๖๑ พบผู้ป่วยสะสมจำนวนมากกว่า ๒ ล้านคน และคาดว่ายังมีผู้ป่วยซ่อนเร้นอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า ๔๐ ปีที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ Better Health ฉบับนี้ยังเน้นไปที่โรคเรื้อรังที่สำคัญคือ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ยังเป็นสาเหที่นำไปสู่โรคแทรกซ้อนร้ายแรงอีหลายโรค ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด พบว่า ประชากรในเขตรับผิดชอบทั้งหมด จำนวน ๒,๘๗๙ คน เป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๖๕ คน และเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน ๑๑๐ คน จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือมีอัตราการป่วยที่สูง ซึ่งมาตรการในการดูแลรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้ให้การรักษาและความร่วมมือของผู้ป่วยในการดูแลสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นเป็นโรค ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการควบคุมระดับความดันโลหิตสูง ร่วมกับการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แก่ผู้ป่วย ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งครอบครัวและชุมชนจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ร่วมรับรู้ในการแก้ไขปัญหา ร่วมกันในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันกลุ่มป่วยให้มีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อน ซึ่งจะทำให้สูญเสียชีวิตได้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน มีความรู้ ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 50 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน มีความรู้ ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง

2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละ 50 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

ร้อยละ 50 ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน มีความรู้ ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑ สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่ตำบลท่าเรือ ๑.๒ ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และกิจกรรมโครงการร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ๒. ขั้นดำเนินงาน
๒.๑ เจาะเลือดระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ก่อนให้ความรู้และหลังให้ความรู้ ห่างกันเป็นระยะเวลา ๓ เดือน ๒.๒ อบรมบรรยายในหัวข้อ ดังนี้ ๒.๒.๑ โรคความดันโลหิตสูง - อาการของโรคความดันโลหิตสูง - วิธีการดูแลตนเองและวิธีการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง - ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
๒.๒.๒ โรคเบาหวาน - อาการของโรคเบาหวาน - วิธีการดูแลตนเองและวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน - ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ๒.๒.๓ โภชนาการกับโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและโรคหลอดเลืองสมอง stroke fast track (ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง) ๒.๒.๔ กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โรคหลอดเลือดสมอง
stroke fast track (ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง) ในชุมชน ๒.๒.๕ กิจกรรมติดตามเยี่ยมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
๓. ขั้นติดตามและประเมินผล
๓.๑ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ได้อย่างถูกต้อง มากกว่าร้อยละ ๘๐

๒. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ๕๐ ๓. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละ๔๐ ๔. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2566 14:07 น.