กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กชายเพื่อสุขภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๖6
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มแกนนำรักสุขภาพ ตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฝาตีมะ เส็นกอหนำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มแกนนำรักสุขภาพ ตำบลท่าเรือ ได้ตระหนักถึงสุขภาพเพื่อเป็นการดูแลส่งเสริมสุขภาพ สามารถเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามสิทธิประโยชน์ขอกลุ่มวัยและเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ รวมถึงเพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ จากสถิติ ปี 2565 มีเด็กชายในตำบลท่าเรือที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 21 คน
เนื่องด้วยบทบัญญัติของศาสนาอิสลามกำหนดให้ยุวชนมุสลิมชายทุกคนจะต้องเข้าพิธีสุนัตโดยพิธีเข้าสุนัตหมู่ของเด็กไทยมุสลิมซึ่งภาษาอาหรับเรียกว่า คีตาน ภาษามาลายูเรียกว่า มาโซ๊ะยาวี ส่วนคนไทย โดยทั่วไปเรียกว่า พิธีเข้าสุนัต ซึ่งทั้งสามคำนี้ มีความหมายเดียวกัน คือ การขลิบปลายอวัยวะเพศ ของเด็กไทยมุสลิม ทั้งชายและหญิง เมื่อย่างเข้าวัยอันควร คือ อายุระหว่าง 8 - ๑๒ ปี
“พิธีเข้าสุนัต” ถือเป็นส่วนหนึ่งของความดีต่างๆ ตามบทบัญญัติอิสลามที่ “อัลลอฮ” ทรงบัญญัติแก่ปวงบ่าวของพระองค์ และทำให้ความดีต่างๆ ของพวกเขาทั้งภายนอกและภายในมีความสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นการชำระความสกปรก สร้างความสะอาดบุคลิก ดังนั้น เมื่อถึงวัยดังกล่าวผู้เป็นบิดามารดาหรือผู้ปกครองจึงจำเป็นที่จะต้องมีพิธีเข้าสุนัตให้กับเด็กวัยเรียน แต่เนื่องจากในสภาวการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีความจำเป็นจะต้องใช้มาตรการประหยัดเพื่อความอยู่รอด และจากอดีตที่ผ่านมา ปัญหาการเข้าสุนัตที่ทำกันอยู่ในชุมชน ส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีการติดเชื้อค่อนข้างมาก สาเหตุประการหนึ่งมาจากเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสุนัตไม่สะอาดเพียงพอและเด็กหรือผู้ปกครองบางส่วนไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพตนเอง กลุ่มแกนนำรักสุขภาพ ตำบลท่าเรือ จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กชายเพื่อสุขภาพ ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อทำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม ในตำบลท่าเรือ เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะออกเลือดมาก (bleeding)

ร้อยละ 50 ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะออกเลือดมาก (bleeding)

2 เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

ร้อยละ 50 เข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. จัดประชุมกลุ่มแกนนำรักสุขภาพ ตำบลท่าเรือ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม ๓. กลุ่มแกนนำรักสุขภาพ ตำบลท่าเรือ ออกสำรวจค้นหากลุ่มเป้าหมาย ๔. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 38 คน เรื่อง 4.1 การดูแลสุขภาพของการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย 4.2 ข้อดีของการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย 4.3 ลักษณะการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย 4.4 วิธีการดูแลรักษาแผลหลังจากขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย
๕. กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายจำนวน 19 คน ๖. ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็ก ได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) และลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อได้ ๒. เด็ก ผู้ปกครอง ได้มีความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อได้ ๓. เด็ก ผู้ปกครอง เข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรคได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2566 14:13 น.