กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66-L4139-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมรักษ์สุขภาพบ้านทุ่งยามู
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มีนาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประไพ ขวัญนงรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยในปัจจุบัน ซึ่งจากสถิติพบว่ามีการแพร่ระบาดทั่วทุกหมู่บ้านในเขตเมืองและเขตชนบท เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประเทศ โดยในในช่วง เดือนตุลาคม 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2566 อำเภอเมืองยะลา มีจำนวนผู้ป่วย 51 ราย ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ อายุ 10-14 ปี อาชีพที่พบสูงสุดคือ เด็กในปกครองและนักเรียน การพิจารณาตามหลักระบาดวิทยา จะมีการระบาดใหญ่เป็นปีเว้นปีหรือปีเว้นสองปี ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าในปี 2566 อาจเป็นปีที่มีการระบาดใหญ่ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อีกครั้งจากปัญหาที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อ ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรค โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยามู จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก 2566 ขึ้น เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ และดำเนินการป้องกันอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก เหลือไม่เกิน 50 ต่อ แสนประชากร 2.เกิดความร่วมมือในชุมชน

2 2.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เกิดโรคหลังควบคุม HI=0

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ให้ อสม. สำรวจลูกนำทุกสัปดาห์และส่งใบสำรวจลูกนำมายัง รพ.สต..... 2.ทำการพ่นหมอกควันแบบปูพรมทุกหมู่บ้านปีละ ๒ ครั้งและพ่นในโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรี 3.จัดเตรีมเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมอยู่เสมอ และพร้อมที่จะใช้งานทันที่ 4 .ทำลายแหล่งเพาะพันยุงลาย และใส่ทรายอะเบท ทุกหลังคาเรือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก เหลือไม่เกิน ๕- ต่อแสนประชากร 2. ความทันเวลาในการควบคุมแหล่งแพร่โรค (ภายใน ๒๔ ชั่วโมงหลังได้รับแจ้ง) ร้อยละ ๑๐ 3.สำรวจพร้อมกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วยและบริเวณรอบบ้านรัศมี ๑๐๐ เมตร ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เกิด โรคหลังควบคุม HI = o 4.มีการพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัยในบ้านผู้ป่วยและบริเวณรัศมี 100 เมตร ร้อยละ 100
5.ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2566 14:54 น.