กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาชนร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติด
รหัสโครงการ 66-L1521-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเสใหญ่
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 13,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชาติชาย สุทธิธรรมานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2566 31 ส.ค. 2566 13,500.00
รวมงบประมาณ 13,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติดเป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม" ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชนต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการร่วมกัน และในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด มาในรูปแบบและวิธีต่างๆ มากมาย เข้าไปสู่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ มากยิ่งขึ้น และตามประกาศคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้งและรับรองรองคุณภาพศูนย์คัดกรอง พ.ศ.2565 ข้อ ๔ ให้มีศูนย์คัดกรองในพื้นที่ระดับตำบลทุกจังหวัดและในระดับเขตในกรุงเทพมหานคร โดยขึ้นทะเบียนที่สำนักเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การดำเนินการศูนย์คัดกรองยาเสพติด บรรลุตามวัตถุประสงค์ และตามประกาศคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเสใหญ่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งศูนย์คัดกรองยาเสพติดและหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนไทย ส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการประชาชนร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติดขึ้น เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อจัดตั้งศูนย์คัดกรองยาเสพติด 2.เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด 3.เพื่อคัดกรองสารเสพติดในประชาชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑.เพื่อจัดตั้งศูนย์คัดกรองยาเสพติด 2.เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด 3.เพื่อคัดกรองสารเสพติดในประชาชน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

9 มี.ค. 66 กิจกรรมที่1ประเด็นการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพ กิจกรรมที่ 2 ประเด็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองยาเสพติด กิจกรรมที่ 3 การคัดกรองยาเสพติด กิจกรรมที่ 4 การถาม-ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด 90.00 13,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.สำรวจรายชื่อกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จากผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในเขตที่รับผิดชอบ 2.จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปีงบประมาณ 2566 เพื่อเสนอขออนุมัติกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส 3.จัดทำแผนปฏิบัติงานในการดำเนินงาน ,ชี้แจงวัตถุประสงค์และประสานงานกับผู้นำชุมชน และ อสม. เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบ 4.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน โดยมีประเด็นหลัก 2 ประเด็น ได้แก่
4.1 ประเด็นการอบรมให้ความรู้     - ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการรับประทานอาหาร     - ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม     - ความรู้เกี่ยวกับการจัดการด้านอารมณ์   4.2 ประเด็นการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
- วัดรอบเอว (โดย อสม.เป็นแกนนำสอนวิธีการประเมินโรคอ้วนเพื่อให้เข้าใจถึงระดับภาวะน้ำหนักของตนเอง กระบวนการใช้สายวัดรอบเอว BMI วัดค่า Body Mass Index (BMI)     - รู้เท่าทัน แคลอรี่อาหาร
    - อ่านฉลากอาหาร     - การออกกำลังกาย 5.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดอย่างเหมาะสม
2.ลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้ามาในโรงเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้
3.สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งในโรงเรียนและชุมชน
4.ประชาชน ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดในโรงเรียน สามารถใช้เป็นข้อมูลในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2566 10:12 น.