กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจคัดแยกขยะสู่ตำบลสะอาด
รหัสโครงการ 66-L8300-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.ตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 33,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะสูยี มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 33,525.00
รวมงบประมาณ 33,525.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขยะมูลฝอยขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม ปริมาณขยะมูลฝอยดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะที่เกิดขึ้นทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่อากาศเสียน้ำเสียแหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึงเกิดเหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนในพื้นที่องค์การบริหารส่วน ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส มีจำนวนครัวเรือน 1,962 ครัวเรือนมีปริมาณขยะเฉลี่ยประมาณ 8 กิโลกรัมต่อคนต่อเดือน (ข้อมูลจากฐานข้อมูลการจัดการขยะ อบต.แว้ง ณ เดือน เมษายน 2560)ในการนี้กลุ่ม อสม.ตำบลแว้ง จึงจัดทำโครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัย : ธนาคารขยะรีไซเคิล โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลแว้ง มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ วิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี รวมทั้งขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง จากการที่ประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติคัดแยกขยะจากต้นทางและร่วมกิจกรรมในโครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัย ดังนั้นชมรม อสม.ตำบลแว้งจึงเห็นว่าในเมื่อทุกคนเป็นต้นตอของสาเหตุปัญหาขยะล้นเมือง เราจึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักให้เกิดการคัดแยกขยะระดับครัวเรือนก่อนจะเป็นปัญหาใหญ่กระทบด้านสิ่งแวดล้อมจนทำให้เป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จึงเป็นสิ่งที่ต้องเริ่มต้นขึ้นในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแว้งในการจัดโครงการรณรงค์ประชาชนร่วมใจแยกขยะในครัวเรือนเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ประชาชนในตำบลแว้ง ในจัดการขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

1.ผู้เข้ารับการอบรมจะนำความรู้ที่ได้รับนำกลับไปแยกขยะที่บ้านร้อยละ 90 2.ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความตระหนักบอกต่อคนใกล้ชิดร้อยละ 80 3.ผู้เข้ารับการอบรมแยกขยะ ร้อยละ 80

70.00
2 เพื่อช่วยลดปริมาณขยะและเสริมสร้างความรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม

1.ผู้เข้ารับการอบรมจะลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกและจะพกถุงผ้าไปจ่ายตลาดทุกครั้งร้อยละ 90 2.แยกถังขยะเปียกที่บ้านร้อยละ 90

90.00
3 เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงาน

1.เกิดความร่วมมือของชุมชนร้อยละ 80 2.ผู้นำชุมชนเป็นตัวอย่างการดำเนินการแยกขยะที่ดีให้ประชาชนร้อยละ 90

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ(1 มิ.ย. 2566-30 มิ.ย. 2566) 0.00          
รวม 0.00
1 การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในพื้นที่ตำบลแว้ง มีความรู้ในจัดการขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน 2.ลดปริมาณขยะและเสริมสร้างความรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม
3. มีรูปแบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงาน
4. ลดการเกิดโรคจากขยะในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2566 11:30 น.