กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เรื่องโรคติดต่อในสถานศึกษา1 มิถุนายน 2566
1
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ขั้นวางแผน (Plan)
    1) รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคติดต่อในเขตเทศบาลนครตรัง ในโปรแกรม รง 506 และรายงานผู้ป่วยจากกลุ่มงานระบาด โรงพยาบาลตรัง 2) ประชุมวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่งานป้องกันและควบคุมโรค คณะครูโรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรัง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงานร่วมกัน
  2. ขั้นดำเนินการ (Do) 2.1 นำเสนอโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติงบประมาณจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครตรัง 2.2 ดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ จำนวน 2 กิจกรรม 2.2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรัง เกี่ยวกับโรคติดต่อในโรงเรียน จำนวน 3 รุ่น รุ่นที่ 1-2 จำนวนรุ่นละ 60 คน และรุ่นที่ 3 จำนวน 50 คน จำนวน 6 ชั่วโมง โดยวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองตรัง เจ้าหน้าที่กลุ่มงานระบาด โรงพยาบาลตรัง โดยแบ่งการให้ความรู้เป็นฐานการเรียนรู้ 5 เรื่อง ประกอบด้วย
    • ฐานที่ 1 ฉันจะแซดถ้าเป็นไข้เลือดออก
    • ฐานที่ 2 คิดสิ คิดสิ ทำอย่างไรไม่ให้เป็นมือเท้าปาก
    • ฐานที่ 3 สุขกันเถอะเรา ไม่เอาสุกใส
    • ฐานที่ 4 ที่เธอเคยบอกฉันอย่าเป็นอุจจาระร่วง จำนวน
    • ฐานที่ 5 ล้างมือล้างใจ ไม่ให้เป็นโรค และสุขบัญญัติ 10 ประการ 2.2.2 กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เรื่องโรคติดต่อในสถานศึกษา
      1) กิจกรรมรณรงค์และป้องกันการเกิดโรคติดต่อในโรงเรียนร่วมกับนักเรียน โดยจัดกิจกรรมภายในโรงเรียน (เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2566)

- การสำรวจลูกน้ำยุงลายภายในโรงเรียน/ประชาสัมพันธ์ไข้เลือดออก/กิจกรรม Morning talk ตอนเช้าบริเวณหน้าเสาธง 3.ขั้นตรวจสอบและประเมินผล
1)  ประเมินความรู้ของนักเรียน โดยแบบทดสอบความรู้ เรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคติดต่อ จำนวน 20 ข้อ โดยประเมินก่อนเข้าอบรมและหลังเข้าอบรม เกณฑ์การให้คะแนนการแปรผลระดับคะแนน ร้อยละ 80 – 100 ระดับดี ร้อยละ 61 – 79    ระดับปานกลาง ร้อยละ 0 – 60      ระดับปรับปรุง 2) ประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ จำนวน 10 ข้อ 3) สรุปผลการดำเนินงาน เพื่อเสนอให้แก่ผู้บริหารเทศบาลนครตรังและคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรังทราบ 4. ขั้นปรับปรุงและพัฒนา 1) ประชุมวิเคราะห์สถานการณ์โรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ/ผลการดำเนินกิจกรรม/ปรับปรุงกระบวนการทำงานและกิจกรรมในปีถัดไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เจ้าหน้าที่งานและนักเรียนแกนนำที่ผ่านการอบรมให้ความรู้นักเรียนของโรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรังเกี่ยวกับฌรคติดต่อในโรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรัง จำนวน 9 โรงเรียน ดำเนินกิจกรรมให้ความรู้หน้าเสาธง เกี่ยวกับโรคติดต่อในสถานศึกษา จากการดำเนินกิจกรรมสามาถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครตรัง ร้อยละ 13.03 สามารถละอัตราป่วยโรค มือ เท้า ปาก ในเขตเทศบาลนครตรัง ได้ ร้อยละ 21.56 และสามารถสร้างแกนนำนักเรียนด้านการป้องกันการป้องกันและควบคุมโรคของสถานศึกษาในเขตเทศบาลนครตรังได้ จำนวน 15 โรงเรียนจาก จำนวน 17 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 88.24

กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียนของโรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรัง เกี่ยวกับโรคติดต่อในโรงเรียน จำนวน 170 คน จำนวน 3 รุ่น รุ่นที่ 1-2 จำนวนรุ่นละ 60 คน และรุ่นที่ 3 จำนวน 50 คน10 มีนาคม 2566
10
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ขั้นวางแผน (Plan)
    1) รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคติดต่อในเขตเทศบาลนครตรัง ในโปรแกรม รง 506 และรายงานผู้ป่วยจากกลุ่มงานระบาด โรงพยาบาลตรัง 2) ประชุมวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่งานป้องกันและควบคุมโรค คณะครูโรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรัง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงานร่วมกัน
  2. ขั้นดำเนินการ (Do) 2.1 นำเสนอโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติงบประมาณจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครตรัง 2.2 ดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ จำนวน 2 กิจกรรม 2.2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรัง เกี่ยวกับโรคติดต่อในโรงเรียน จำนวน 3 รุ่น รุ่นที่ 1-2 จำนวนรุ่นละ 60 คน และรุ่นที่ 3 จำนวน 50 คน จำนวน 6 ชั่วโมง โดยวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองตรัง เจ้าหน้าที่กลุ่มงานระบาด โรงพยาบาลตรัง โดยแบ่งการให้ความรู้เป็นฐานการเรียนรู้ 5 เรื่อง ประกอบด้วย
    • ฐานที่ 1 ฉันจะแซดถ้าเป็นไข้เลือดออก
    • ฐานที่ 2 คิดสิ คิดสิ ทำอย่างไรไม่ให้เป็นมือเท้าปาก
    • ฐานที่ 3 สุขกันเถอะเรา ไม่เอาสุกใส
    • ฐานที่ 4 ที่เธอเคยบอกฉันอย่าเป็นอุจจาระร่วง จำนวน
    • ฐานที่ 5 ล้างมือล้างใจ ไม่ให้เป็นโรค และสุขบัญญัติ 10 ประการ 2.2.2 กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เรื่องโรคติดต่อในสถานศึกษา
      1) กิจกรรมรณรงค์และป้องกันการเกิดโรคติดต่อในโรงเรียนร่วมกับนักเรียน โดยจัดกิจกรรมภายในโรงเรียน (เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2566)

- การสำรวจลูกน้ำยุงลายภายในโรงเรียน/ประชาสัมพันธ์ไข้เลือดออก/กิจกรรม Morning talk ตอนเช้าบริเวณหน้าเสาธง 3.ขั้นตรวจสอบและประเมินผล
1) ประเมินความรู้ของนักเรียน โดยแบบทดสอบความรู้ เรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคติดต่อ จำนวน 20 ข้อ โดยประเมินก่อนเข้าอบรมและหลังเข้าอบรม เกณฑ์การให้คะแนนการแปรผลระดับคะแนน ร้อยละ 80 – 100 ระดับดี ร้อยละ 61 – 79  ระดับปานกลาง ร้อยละ 0 – 60  ระดับปรับปรุง 2) ประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ จำนวน 10 ข้อ 3) สรุปผลการดำเนินงาน เพื่อเสนอให้แก่ผู้บริหารเทศบาลนครตรังและคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรังทราบ 4. ขั้นปรับปรุงและพัฒนา 1) ประชุมวิเคราะห์สถานการณ์โรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ/ผลการดำเนินกิจกรรม/ปรับปรุงกระบวนการทำงานและกิจกรรมในปีถัดไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรให้ความรู้นักเรียนในเขตเทศบาลนครตรัง เกี่ยวกับโรคติดต่อในโรงเรียน จัดกิจกรรมในระหว่างวันที่ 14 - 16 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ ชั้น 1 เทศบาลนครตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตเทสบาลนครตรัง จำนวน 14 โรงเรียน รวมนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 170 คน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกเป็น จำนวน 3 รุ่น ซึ่งบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อเรื่องสถานการณ์การเกิดไข้เลือดออก และการดูแลและป้องกันโรคไข้เลือดออก เรื่องสถานการณ์การเกิดโรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง และโรคสุกใส การแล และการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง และโรคสุกใส และขั้นตอนการล้างมือที่ถูกวิธีและสุขบัญญัติ 10 ประการ มีกิจกรรมภาคปฏิบัติ จำนวน 5 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ฐานฉันจะแซดถ้าเป็นไข้เลือดออก, ฐานคิดสิ คิดสิ ทำอย่างไรไม่ให้เป็นมือเท้าปาก, ฐานสุขกันเถอะเราไม่เอาสุกใส, ฐานที่เธอเคยบอกฉันอย่าเป็นอุจจาระร่วง และฐานล้างมือ ล้างใจ ไม่ให้เป็นโรคและสุขบัญญัติ 10 ประการ ซึ่งแกนนำที่ผ่านการอบรมให้ความรู้นักเรียนของโรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรังเกี่ยวกับโรคติดต่อในโรงเรียน จำนวน 170 คน มีระดับคะแนนความรู้หลังการอบรมระดับดี จำนวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 79.41 ดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์เรื่องโรคติดต่อในสถานศึกษา โดยเจ้าหน้าที่งานและนักเรียนแกนนำที่ผ่านการอบรมให้ความรู้นักเรียนของโรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรังเกี่ยวกับฌรคติดต่อในโรงเรียนในเขตเทศบาลนครตรัง จำนวน 9 โรงเรียน ดำเนินกิจกรรมให้ความรู้หน้าเสาธง เกี่ยวกับโรคติดต่อในสถานศึกษา จากการดำเนินกิจกรรมสามาถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครตรัง ร้อยละ 13.03 สามารถละอัตราป่วยโรค มือ เท้า ปาก ในเขตเทศบาลนครตรัง ได้ ร้อยละ 21.56 และสามารถสร้างแกนนำนักเรียนด้านการป้องกันการป้องกันและควบคุมโรคของสถานศึกษาในเขตเทศบาลนครตรังได้ จำนวน 15 โรงเรียนจาก จำนวน 17 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 88.24