กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลนครตรัง
รหัสโครงการ 2566-L6896-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 78,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 188 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สำคัญ ซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคในทุกภาคของประเทศ และพบผู้ป่วยได้ในทุกฤดูกาล ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายเป็นจำนวนมาก โรคไข้เลือดออกจึงเป็นปัญหาระดับประเทศ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนต่างๆ ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจำเป็น ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครสาธาณณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ครูและนักเรียน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคโดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกปี พ.ศ.2565 พบว่ามีผู้ป่วยสะสมทั้งประเทศ จำนวน 13,238 ราย อัตราป่วย 20.01 ต่อแสนประชากร ผู้เสียชีวิตจำนวน 8 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.06  (ข้อมูลวันที่ 2 มกราคม – 23 กรกฎาคม 2565 กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพฯ) และในเขตพื้นที่เทศบาลนครตรัง ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 25 มกราคม 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 33 ราย อัตราป่วย 58.44 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิต   ตามเป้าหมายการดำเนินงานป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ประจำปี พ.ศ.2565 โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แผนงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ นำโดยยุงลาย กำหนดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 15 จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี และอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในประชาชนอายุมากกว่า 15 ปี น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 0.10   อาศัยความตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 14 พ.ศ.2562 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลนครตรังมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล (1) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา 53 โดยมาตรา 53 ระบุว่าภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องทำกิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา 50 และมาตรา 50 (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงจัดทำ “โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลนครตรัง” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับแกนนำสุขภาพ ผู้นำชุมชน ในการควบคุม ป้องกัน และลดปัญหา การแพร่ระบาดของของโรคที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค(โรคไข้เลือดออก) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลนครตรัง

ร้อยละ 60 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้อยู่ในระดับดี

2 เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรคให้แก่ประชาชนในชุมชน
  • กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 เข้าร่วมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ความรู้ในชุมชนได้ตามแผนการดำเนินงาน
  • ร้อยละ 80 ของชุมชนในเขตเทศบาลนครตรัง ได้รับการรรณรงค์และประชาสัมพันธ์ความรู้ตามแผนดำเนินกิจกรรม
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เทศบาลนครตรังเกี่ยวกับโรคติดต่อนำโดยแมลง จำนวน 3 ชั่วโมง และจัดทำนวัตกรรมป้องกันและควบคุม การแพร่ระบาดของโรคที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรคในชุมชนภายในเขตพื้นที่เทศบาลนครตรัง(10 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 78,750.00              
รวม 78,750.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เทศบาลนครตรังเกี่ยวกับโรคติดต่อนำโดยแมลง จำนวน 3 ชั่วโมง และจัดทำนวัตกรรมป้องกันและควบคุม การแพร่ระบาดของโรคที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรคในชุมชนภายในเขตพื้นที่เทศบาลนครตรัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 78,750.00 1 72,450.00
10 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมลงพื้นที่เชิงรุกบุกทำลาย แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย (ดำเนินกิจกรรมทุกเดือน จำนวน 5 เดือน ระหว่างเดือนเมษายน 2566 - เดือนสิงหาคม 2566) 0 78,750.00 72,450.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ ของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลนครตรังลดลง
  2. ไม่พบอัตราป่วยตายด้วยโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลนครตรัง
  3. แกนนำสุขภาพและประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลนครตรัง มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ
  4. สามารถนำนวัตกรรมไปใช้สำหรับป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะไปใช้ในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2566 09:29 น.