กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L5232-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลคลองรี
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชะอ้อน โชติช่วง
พี่เลี้ยงโครงการ นายศุภชัย เผือกผ่อง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.542,100.388place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่
5 – 14 ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้น การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก โดยผ่านการประชาสัมพันธ์ของชมรม อสม.และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลคลองรี  ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้นโดยหวังว่าจะช่วยลดการสูญเสียและระงับผู้ป่วยจากโรคดังกล่าวได้ลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในทุกกลุ่ม อายุ ข้อที่ 2 เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคใน บ้าน ชุมชน โรงเรียนและสถานบริการสาธารณสุข ข้อที่ 3 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชน ตื่นกลัวและ ตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรค ไข้เลือดออก

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลคลองรี มีการกำจัดลูกน้ำยุ่งลายในพื้นที่ตำบลคลองรี ประชาชนสนใจให้ความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุ่งลายและแหล่งเพาะพันธ์ยุ่งให้หมดไปในตำบลคลองรี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
1. ร่วมกับ อสม.กำนันผู้ใหญ่บ้านและประชาชนทั่วไปแจกทรายอเบทเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายและแจกอาหารปลาหางนกยูงให้กับประชาชนที่เลี่ยงจำนวน 45 จุดเพื่อไว้แจกจ่ายให้กับ อสม.เพื่อนำไปปล่อยในโอ่งน้ำประชาชนในพื้นที่เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนตนเอง
กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่พ่นหมอกควันกำจัดลูกน้ำยุ่งลาย 1. พ่นหมอกควันเพื่อกำจัดลูกน้ำยุ่งลาย ในโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียน 2. พ่นหมอกควันเพื่อกำจัดลุกน้ำยุงลาย ตามบ้านเรือนที่ได้รับเชื้อโรคไข้เลือดออกและบ้านเรือนของตำบล คลองรีตั้งแต่ ม.ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 9 และที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น
  2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
          ด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค
    1. สามารถเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  และโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 12:55 น.