กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาทักษะกีฬาต้านยาเสพติด
รหัสโครงการ 66-L5268-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองม่วงงาม
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประทีป จันทบูลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขถึงฉบับที่ปัจจุบัน มาตรา ๕๓ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำใน        เขตเทศบาล ดังต่อไปนี้ (๑) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม (๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และ        ผู้พิการ และ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง          (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 มาตรา ๑๖ ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ              เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (๙) การจัดการศึกษา (๑๐) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา          และผู้ด้อยโอกาส และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับปัจจุบัน มาตรา ๘ การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้            (๑) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน (๒) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มาตรา ๑๕ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (๓) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่ง ความรู้อื่น ๆ
    เทศบาลเมืองม่วงงามได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแผนชี้นําการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด และลดระดับของปัญหา สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคงและแผนระดับต่าง ๆ ตามแนวทางการดำเนินงาน

      ๑. เด็กปฐมวัย อายุ ๒ - 6 ปี กำหนดให้ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสริมสร้างทักษะสมองด้วยองค์ความรู้ Executive Functions (EF) โดยประยุกต์ใช้ ในการเรียนการสอนควบคู่กับการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมกับช่วงวัย เช่น การยับยั้งชั่งใจ การควบคุมอารมณ์ การจดจ่อใส่ใจ การยืดหยุ่น/ปรับตัว ฯลฯ เพื่อเป็นการวางรากฐานภูมิคุ้มกันยาเสพติดระยะยาว ผ่านสถานศึกษา/ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และกลไก/หน่วยงานเกี่ยวข้อง

      ๒. วัยเด็ก อายุ 7 - 12 ปี กำหนดให้ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้เพื่อการป้องกันยาเสพติดที่เหมาะสม ผ่านการเรียนการสอนในหลักสูตร เช่น รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ฯลฯ เพื่อป้องกันการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งการใช้ยาเสพติดและการตก เป็นเหยื่อในการค้ายาเสพติด และส่งเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตร เช่น กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมทางเลือก ฯลฯ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย ผ่านสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา หรือเทียบเท่า และกลไกหน่วยงาน/บุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผ่านช่องทางที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น สื่อสังคมออนไลน์
    ๓. วัยรุ่น อายุ 13 - 1๘ ปี กำหนดให้ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังนี้         ๓.๑ ให้ความรู้เพื่อการป้องกันยาเสพติดที่เหมาะสม ผ่านการเรียนการสอนในหลักสูตร เช่น รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ฯลฯ และกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อป้องกันการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งการใช้ยาเสพติด และการตกเป็นเหยื่อในการค้ายาเสพติด ต่อเนื่องจากช่วงอายุ 7-12 ปีผ่านสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับ มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา หรือเทียบเท่า และกลไก/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผ่านช่องทางที่เหมาะสมกับ กลุ่มเป้าหมาย เช่น สื่อสังคมออนไลน์
          ๓.๒ ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม โดยการสํารวจและค้นหานักเรียนที่มีความเสี่ยง/เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดเพื่อการดูแลช่วยเหลือ ที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล ให้สามารถปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม เห็นคุณค่าและมีความภาคภูมิใจในตนเอง เพื่อไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด ทั้งในการใช้และการตกเป็นเหยื่อในการค้ายาเสพติด
      ๔. เยาวชน อายุ 19 ปีขึ้นไป กำหนดให้ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้ผ่านการเรียน การสอนในหลักสูตรหรือกิจกรรมนอกหลักสูตรตามความเหมาะสมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ในกิจกรรมการป้องกันยาเสพติด เพื่อปลูกฝังค่านิยม/ทัศนคติต่อปัญหายาเสพติด การมีจิตสาธารณะ และมีความ รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อป้องกันการเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด ทั้งการใช้ยาเสพติดและการตกเป็นเหยื่อ ในการค้ายาเสพติดผ่านสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่ารวมถึงหน่วยงาน/องค์กร/ เครือข่ายที่ดูแลกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ ตลอดจนผ่านช่องทางที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น สื่อสังคมออนไลน์         ๕. ดำเนินการประเมินและวัดผลการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ตามการเรียนการสอนในหลักสูตรและการส่งเสริม กิจกรรมนอกหลักสูตรในแต่ละกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ทราบผลของการดำเนินงานและเพื่อปรับปรุงหลักสูตร และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
      ๖. พัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อการขับเคลื่อนงานในกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดประสิทธิภาพเช่น การพัฒนา ฝึกอบรมและเสริมสร้างองค์ความรู้ การประกาศเกียรติคุณ และให้ความดีความชอบ ฯลฯ สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ตำบลม่วงงามปัจจุบัน เด็กและเยาวชนในตำบลม่วงงามอาจมีความเสี่ยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด เกิดจากความตั้งใจและเกิดจากการหลงผิด โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆในพื้นที่ที่ทำให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสเข้าไปใช้สารเสพติดเพิ่มมากขึ้น          การพัฒนาทักษะกีฬาต้านยาเสพติดให้กับเด็กและเยาวชนเป็นกิจกรรม ที่จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสนใจในการออกกำลังกายไปตามทักษะกีฬาประเภทต่างๆ เพื่อให้พัฒนาการไปตามวัยและดำเนินกิจกรรมไปตามความสนใจของเด็กและเยาวชน การพัฒนาทักษะกีฬาต้านยาเสพติดเป็นกิจกรรมฯให้กับเด็กและเยาวชนหลีกเลี่ยงยาเสพติด ไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และจะทำให้ตำบลม่วงงามปลอดจากยาเสพติดในอนาคต จากการสำรวจความต้องการในการฝึกทักษะในด้านกีฬาและดนตรี-นาฏศิลป์ ผลปรากฏว่าของเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 10 - 18 ปี รวมจำนวน 567 คน ซึ่งผลจากการสำรวจพบว่า 3ชนิดกีฬาที่เด็กและเยาวชนให้ความสนใจต่อฟุตบอลจำนวน 263 คน รองลงมาคือวอลเล่ย์บอลจำนวน 72 คน และตะกร้อ        จำนวน 46 คน และกองการศึกษา เทศบาลเมืองม่วงงาม จึงจัดโครงการพัฒนาทักษะกีฬาต้านยาเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลม่วงงามมีความรู้ ความเข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติดที่มีต่อสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพโดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดและหันมาเล่นกีฬา
  1. กลุ่มเป้าหมาย 56 คนหันมาเล่นกีฬาและห่างไกลยาเสพติด
56.00
2 2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี ด้วยกิจกรรมพัฒนาทักษะกีฬาฯ
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจโทษภัยและวิธีการหลีกเลี่ยง                            การใช้สารเสพติด
  2. ลดการมั่วสุมและการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลม่วงงามและหันมาเล่นกีฬา
  3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี ด้วยกิจกรรมพัฒนาทักษะกีฬาฯ
56.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
13 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 บรมให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักถึงโทษภัย และทักษะกีฬาฟุตบอล 66 36,600.00 -
รวม 66 36,600.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ป้องกันและลดภาวะเสี่ยงการติดสารเสพติดของเด็กและเยาชนในพื้นที่ตำบลม่วงงาม 2 เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลม่วงงามห่างไกลจากยาเสพติด 3 เด็กและเยาวชน มีสุขภาพกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด 4 ลดภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินเกี่ยวกับการบำบัด รักษาผู้ป่วยจากสารเสพติด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 00:00 น.