กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนสุขภาพ ปี 2566

กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ร่วมกันด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ “ปรับวิถี ชีวีเปลี่ยน”ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง26 มิถุนายน 2566
26
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.ปุลากง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันด้วยการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม “ปรับวิถี ชีวีเปลี่ยน” ในกลุ่มเสี่ยงโดยการอบรมให้ความรู้ เรื่องโรคเรื้อรัง การคุม/ปรับอาหารเพื่อสุขภาพ (สาธิตการปรุงเมนูอาหารง่ายๆ แนว heathy) การออกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • จัดกรรมติดตามตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (หมอ1) โดยการนัดตรวจวัดความดันโลหิตสูงและเจาะ ระดับน้ำตาลในเลือดทุก 3 เดือน และ 6 เดือน ในกลุ่มเสี่ยงทั้ง ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมการอบรม กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น มีความสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีระดับความดันโลหิต <140/90 มากกว่าร้อยละ 50 (ความดันคุมได้) ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถคุมความดันได้ (BP=<140/90) = 33.08% (43/130)
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1C <7) > ร้อยละ 10 (เบาหวานคุมได้) ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถคุมน้ำตาลได้ 21.28 (10/47)
  • เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการ <ร้อยละ 10 = 0% (ไม่พบผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน)
  • อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ < ร้อยละ 10 จากการดำเนินงานพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จากกลุ่ม Pre-DM (ภาวะก่อนเบาหวาน) ปีที่ผ่านมา = 2.38% (ผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย/ กลุ่ม Pre-DM (ภาวะก่อนเบาหวาน) ในพื้นที่รับผิดชอบของปีที่ผ่านมาได้รับการตรวจน้ำตาลซ้ำ 42 ราย)
  • อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ <ร้อยละ 20 จากการดำเนินงานพบว่า ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ = 6% (ผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย/ จากกลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการตรวจติดตาม 50 ราย)
  • กลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตาม >ร้อยละ 90 จากการดำเนินงานพบว่า ร้อยละของประชากรกลุ่มPre-DM (ภาวะก่อนเบาหวาน) ในพื้นที่รับผิดชอบของปีที่ผ่านมาได้รับการติดตามตรวจน้ำตาลซ้ำ=90.48%
  • กลุ่มเสี่ยงความดันได้รับการติดตามและวัดความดันที่บ้าน > ร้อยละ 90 จากการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มเสี่ยงความดันได้รับการติดตามและวัดความดันที่บ้าน = 95%