กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพแม่และเด็ก
รหัสโครงการ 66-L5310-3-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรพนา ดินเตบ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวมุศิรา สอเหลบ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 เม.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 152 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 165 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปีการศึกษา 2565 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว มีเด็กนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก คือ ฟันผุและฟันไม่สะอาด จำนวน 121 คน จากนักเรียนทั้งหมด 152 คน คิดเป็นร้อยละ 79.60 จากข้อมูลดังกล่าว พบว่าเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีปัญหาด้านสุขภาพช่องปากเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจโดยแบบบันทึกการตรวจสุขภาพประจำวัน แบบบันทึกฟันผุ และแบบตรวจสภาวะช่องปากและพฤติกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากเจ้าหน้าที่ทันตสุขภาพ โรงพยาบาลละงู ปัญหาดังกล่าว อาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและป้องกันการดูแลสุขภาพและสุขภาพช่องปากของลูกตั้งแต่แรกเกิด สุขภาพในช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพในร่างกายเด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิตเด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสมตั้งแต่แรกเกิด โรคฟันผุในเด็กเล็กนับเป็นปัญหาด้านสุขภาพหนึ่งที่พบมากในวัยเด็กอีกทั้งฟันผุในฟันน้ำนมมีการลุกลามถึงโพรงประสาทฟันได้อย่างรวดเร็วกว่าฟันแท้ การป้องกันฟันผุในเด็กปฐมวัยต้องอาศัยความร่วมมือและให้ความรู้แก่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กให้มีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพื่อช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุในวัยเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพช่องปากและปราศจากฟันผุไปด้วย
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว เห็นความสำคัญของสุขภาพช่องปากในเด็ก จึงได้จัดทำโครงการ ฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพแม่และเด็กขึ้น เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว มีสุขภาพและสุขภาพช่องปาก ป้องกันฟันผุและยับยั้งการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรกของเด็ก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพ สุขภาพช่องปากและฟันดีขึ้น

นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ร้อยละ 100 มีสุขภาพ สุขภาพช่องปากและฟันดีขึ้น

50.00 100.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตรหลาน

นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว ร้อยละ 100 มีทักษะในการดูแลสุขภาพ สุขภาพช่องปากฟันตามวัยดีขึ้น

50.00 100.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีหัฒนาการที่ดีเหมาะสมกับวัยและปลอดภัยจากโรคสุขภาพช่องปาก

ผู้ปกครองร้อยละ 100 มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ สุขภาพช่องปาก สุขภาพฟัน ของตนเองและของบุตรหลานดีขึ้น

70.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
16 มี.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 1. อบรมให้ความรู้แก่ครูผู้สอนและผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สุขภาพช่องปากและสุขภาพฟัน และสาธิตฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธีและบันทึกผล 0 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนร้อยละ100 มีสุขภาพ สุขภาพช่องปากและฟันดีขึ้น
  2. นักเรียน ร้อยละ 100 มีสุขภาพ ทีทักษะในการดูแลสุขภาพ สุขภาพช่องปากและสุขภาพฟันตามวัยดีขึ้น
  3. ผู้ปกครองร้อยละ 100 มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ สุขภาพช่องปาก สุขภาพฟันของตนเองและบุตรหลานดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2566 16:32 น.