กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาและจัดระบบบริการที่มีคุณภาพด้านการป้องกันและบำบัดยาเสพติด ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาและจัดระบบบริการที่มีคุณภาพด้านการป้องกันและบำบัดยาเสพติด ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3024-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลไม้แก่น
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 มีนาคม 2566 - 23 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 24 เมษายน 2566
งบประมาณ 22,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลไม้แก่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.673place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 ที่มา : ยาเสพติดเป็นปัญหาสังคม ยากในการป้องกันและแก้ไขให้ได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากความซับซ้อนและมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ยาเสพติด กลุ่มประชากรหลากหลาย มีคุณลักษณะที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาต่างๆ รัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นวาระแห่งชาติเพื่อให้ผู้เสพผู้ติดยาเสพติดได้เข้าถึงการบำบัดรักษา
1.2 สภาพปัญหา : ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ภายใต้สถานการณ์โรคระบาด COVID – 19 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 – 4 มกราคม 2565 จังหวัดปัตตานี คือ มีผู้เข้ารับการบำบัด จำนวน 2,433 ราย จำแนกเป็นเพศชาย ร้อยละ 98.27 เพศหญิง ร้อยละ 1.73 จำแนกความนิยมของการใช้ยาและสารเสพติด คือ ยาบ้า ร้อยละ 56.76, กระท่อม ร้อยละ 31.15, เฮโรอีน ร้อยละ 6.86, กัญชา ร้อยละ 2.59 ยาไอซ์และสารระเหยอื่นๆ 2.64 จำแนกกลุ่มผู้ป่วยเป็นผู้ใช้ ผู้เสพและผู้ติด ร้อยละ 2.67, 51.58 และ 45.75 ตามลำดับ จำแนกช่วงอายุที่ใช้สารเสพติดมากที่สุด คือ ช่วงอายุ ๑๘ – ๒๔ ปี คิดเป็นร้อยละ 26.88, อายุ ๒๕ – ๒๙ ปี ร้อยละ 24.33, อายุ ๓๐ – ๓๔ ปี ร้อยละ 19.24, และมากกว่าอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ร้อยละ 12.00 จำแนกตามกลุ่มอาชีพ รับจ้าง/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 66.16, การเกษตร/ค้าขาย ร้อยละ 15.56, ว่างงาน ร้อยละ 11.24, นักศึกษาและอื่นๆ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า กลุ่มเยาวชนเป็นผู้เสพมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและประกอบอาชีพรับจ้าง/ใช้แรงงาน ส่วนปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี พบว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติดได้แก่ พืชกระท่อม ยาบ้า และไอซ์ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ความสงบสุขของประชาชนและสังคม พืชกระท่อม แม้จะมีสถิติการจับกุมที่ลดลง แต่ยังคงเป็นยาเสพติดที่การแพร่ระบาดสูง รองจากยาบ้าในพื้นที่อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี โดยเป็นส่วนผสมหลักสำคัญของสี่คูณร้อย ซึ่งมีการแพร่ระบาดในกลุ่มเด็กและเยาวชน หรือกลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่ขณะเดียวกันยังคงมีการลักลอบนำเข้าพืชกระท่อมจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง อาทิ จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา จึงยังคงเฝ้าระวังและมีความเข้มงวดในการสกัดกั้น 1.3 ความเร่งด่วน/ผลที่คาดหวัง : เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบำบัดรักษา ติดตามและให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดและป้องกันไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ คืนคนดีสู่สังคม เพื่อให้ครอบครัว ชุมชนมีความสุขปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไม้แก่น จึงจัดโครงการพัฒนาและจัดระบบบริการที่มีคุณภาพด้านการป้องกันและบำบัดยาเสพติด ปีงบประมาณ ๒๕66 เพื่อเป็นกระบวนการหนึ่งในการขับเคลื่อนศักยภาพเครือข่ายในการดูแล ช่วยเหลือ ผู้ติดยาเสพติด ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จัดตั้งศูนย์การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment and Care:CBTX) ตำบลไทรทอง
  2. ชุมชนที่มีการบำบัดรูปแบบชุมชนมีส่วนร่วมผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ ชุมชน CBTx มากกว่า ร้อยละ 60
  3. ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดบำบัดครบตามเกณฑ์และได้รับการติดตามต่อเนื่องจนครบ 1ปี(Retention Rate) มากกว่า ร้อยละ 60
  4. ผู้ป่วยสามารถเลิกยาเสพติดได้ และกลับไปอยู่ในชุมชนได้คืนคนดีสู่สังคม 5 .ผู้ป่วยที่ผ่านการบำบัดยาเสพติดไม่กลับไปเสพซ้ำ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2566 09:12 น.