กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมเชิงรุกในชุมชนโดยการพ่นหมอกควัน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ที่เป็นพาหะนำของโรคไข้เลือดออก และเพื่อการควบคุมการระบาดของโรคได้ทันท่วงที1 พฤษภาคม 2566
1
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาปูน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคโดยสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาปูนและกิจกรรมเสริมความรู้แก่คนพ่นหมอกควันเกี่ยวกับหลักการพ่นอย่างถูกต้อง ถูกวิธีเพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมโรค และควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 2.กิจกรรมเชิงรุกในครัวเรือน/บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายพาหะของโรคโดยทันที 3.กิจกรรมเชิงรุกในชุมชนโดยการพ่นหมอกควัน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ที่เป็นพาหะนำของโรคไข้เลือดออก และเพื่อการควบคุมการระบาดของโรคได้ทันทีค่าจ้างพ่นหมอกควันในช่วงรณรงค์ก่อนและหลังเปิด/ปิดภาคเรียนในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลเขาปูน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โรคไข้เลือดออกมีสาเหตุมาจากการถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกีมากัด ดังนั้น วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การป้องกันการถูกยุงกัดและการป้องกันไม่ให้ยุงเกิยวกับโดยมีวิธีดังต่อไปนี้ 1.การป้องกันยุงกัดได้แก่ทายากันยุงนอนในมุ้งให้เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว                          2.การจัดการภาชนะหรือสภาพแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเช่นหมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์ ใช้ทรายกำจัดลูกน้ำในภาชนะน้ำใช้ ปิดฝาภาชนะน้ำกิน/น้ำใช้ให้มิดชิด คว่ำภาชนะที่ไม่ใช้ไม่ให้น้ำขังได้ ปล่อยปลากินลูกน้ำเช่นปลาหางนกยูงในอ่างบัว/ไม้น้ำ 3.เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับ เพื่อป้องกันยุงลายมาเกาะพัก 4.ใช้ สเปรย์กระป๋องฉีดพ่นกำจัดยุงลายในบ้าน การดูแลรักษา ในปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี เป็นการรักษาตามอาการ แพทย์ผู้รักษาจะต้องเข้าใจธรรมชาติของโรค และให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยผู้ป่วยในระยะแรกอาจยังไม่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล โดยแพทย์จะนัดตรวจตามอาการตั้งแต่วันที่ 3 ของอาการไข้เป็นต้นไป โดยติดตามทุกวันจนผู้ป่วยไม่มีไข้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยไม่ใช้ยาลดไข้ สำหรับหลักการดูแลรักษาเมื่อเป็นไข้เลือดออกเบื้องต้น ได้แก่  1.พักผ่อนให้เพียงพอ  2.หากมีไข้ให้รับประทานยาพาราเซตามอล หรือเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ห้ามรับประทานยาประเภท เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟ่น โดยเด็ดขาด เนื่องจากยาเหล่านี้อาจะทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติในทางเดินอาหาร เกิดภาวะตับ/ไตวานเฉียบพลัน  3.ควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย และหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสีดำ แดง น้ำตาล รวมทั้งการรับประทานยาที่ไม่จำเป็น 4.การให้สารน้ำทดแทนในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม โดยการดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผลไม้แทนน้ำเปล่า เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำและเกลือแร่ 5. หากมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือน ว่าเข้าสู่ระยะวิกฤติ ให้รีบกลับมาพบแพทย์ทันที ได้แก่     - ไข้ลดลงแต่อาการไม่ดีขึ้น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กระสับกระส่าย     - ปวดท้องหรืออาเจียนมากกว่า 3 ครั้ง/วัน    - หน้ามืด จะเป็นลม เวียนศีรษะ หรือมือและเท้าเย็น ซึมลง    - ปัสสาวะลดลงหรือไม่มีปัสสาวะใน 4 - 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา    - เลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล อุจจาระสีดำ อาเจียนเป็นเลือด ประจำเดือนมานอกรอบหรือมามากผิดปกติ ปัสสาวะสีน้ำตาลเข้มหรือดำ เนื่องจากยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายสามารถพบได้ทุกหลังคาเรือนจึงมีความจำเป็นที่ประชาชนทุกหลังคาเรือนจะต้องช่วยกันดูแลกำจัดลูกน้ำยุงลาย-และลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขังในบ้านเรือนของตนเองและมีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินงานร่วมมือกับอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)ตำบลเขาปูน โดย อสม.ตำบลเขาปูนจึงมีบทบาท สำคัญอย่างมากต่อภารกิจนี้       จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ประชาชนประมาณร้อยละ 80 ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายว่าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แหล่งน้ำเน่าเสียในหมู่บ้าน ในท่อระบายน้ำ น้ำในคูคลอง ซึ่งแหล่งน้ำเหล่านี้ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงรำคาญซึ่งไม่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาปูนจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลเขาปูน เพื่อเตรียมพร้อมและเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดระบาดรุนแรงของไข้เลือดออกในตำบลเขาปูน