กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม ประจำปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิต
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มีนาคม 2566 - 21 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 69,670.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวประดับ แดงนำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 มี.ค. 2566 21 มี.ค. 2566 69,670.00
รวมงบประมาณ 69,670.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพสชาย (การเข้าสุหนัต) คือ การทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรกและเหตูผลทางการแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ไดให้โอวาทดังนี้ ธรรมชาติ 5 สิ่ง (ในร่างกายมนุษย์) ที่ต้องได้รับการตกแต่ง คือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ขจัดขนในร่มผ้า ตัดเล็บ และการตกแต่งหนวดเครา การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธ์ของชาย เพื่อความสะอาดเป็นสำคัญ จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลื่น การติดเชื่อ รวมเกิดมะเร็งที่องค์ชาติได้ ดังนั้น สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิต ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือสุหนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีความรู้ ทักษะด้านขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมสามารถเข้าถุงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. บริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่ เด็กและเยาวชนมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bieeding) 2. เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค
  1. ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะเลือดออก ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย
  2. เด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ปกครองมีความตระหนักเข้าใจวิธีการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคด้านโรคติดเชื้อ ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย
  3. ลดปัจจัยเสี่ยงอันก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบอย่างรุนแรง) ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย
45.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 66
1 อบรมให้ความรู้(20 มี.ค. 2566-21 มี.ค. 2566) 0.00  
รวม 0.00
1 อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
  1. กิจกรรมเตรียมความพร้อม

- ประชุมคณะกรรมการ และทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ -ประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่สำรวจและรับสมัครเด็กและเยาวชนมุสลิมเข้าร่วมโครงการ -จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อออกบริการทำสุหนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชนมุสลิม 2. กิจกรรมออกบริการทำสุหนัตแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม -กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกดความตระหนักในการป้องกันโรค -กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) 3. การติดตามประเมิน เพื่อติดตรามและประเมินอาการหลังกานสุหนัต และความพึ่งพอใจของผู้ปกครองเด็ก 4. สรุปผลการดำเนินงานโครงการในภาพรวม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุหนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย)
  2. สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื่อ
  3. สร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชนในการป้องกันโรคติเชื้อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2566 13:16 น.