กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ นวดกระตุ้นพัฒนาการลูก สัมผัสแรกรักจากมารดา
รหัสโครงการ 66 - L8426 - 1 - 11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตอหลัง
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 6,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสันโนรา สามุยามา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.283,101.775place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ทารกแรกเกิดเป็นวัยที่สำคัญในการสร้างรากฐานของชีวิต เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตและ พัฒนาการอย่างรวดเร็ว ซึ่งอยู่ในระยะที่เรียกว่าระยะประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว เป็นวัยที่เซลล์สมอง มีการสร้างจุดเชื่อมต่อและเส้นใยประสาทมากที่สุดถ้าสมองไม่ได้รับการกระตุ้นหรือไม่ได้รับการส่งเสริม ในช่วง เวลาที่เหมาะสม โอกาสเรียนรู้ของเด็กก็จะลดน้อยลง การกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญเพื่อให้ เด็กมีความพร้อมในการเรียนรู้และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างสมบูรณ์ (อำนาจ พิมพาต,2552) การเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่คลอดถือเป็นหน้าที่อันสำคัญของมารดาในการเลี้ยงดูทารกให้มีการเจริญเติบโต ตามแบบแผนและวิถีทางแห่งสังคมมนุษย์ มารดาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในทุกช่วงเวลาของการเลี้ยงดู หรืออาจกล่าวได้ว่ามารดานั้นเป็นบุคคลแรกในชีวิตมนุษย์ที่ทำให้เกิดความสุข ความพอใจแก่ทารกได้โดยธรรมชาติแล้วมารดาทุกคนมีความคาดหวังที่จะเลี้ยงดูบุตรของตนเองให้ดีที่สุด โดยปกติทารกจะได้รับการ กระตุ้นประสาทสัมผัสเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ด้วยการฟังเสียงและการรับเสียงการเต้นของหัวใจมารดาและ การเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร มีการทรงตัวจากการเคลื่อนไหวของมารดา การได้รับการสัมผัสที่ ผิวหนังจากน้ำคร่ำ ผนังมดลูก สายสะดือ และส่วนต่างๆ ของทารกเองจะขาดเพียงแต่การกระตุ้นการมองเห็น สิ่ง กระตุ้นที่ได้รับเหล่านี้เมื่ออยู่ในครรภ์มารดาจะทำให้ทารกมีพัฒนาการและผสมผสานการทำงานไปเรื่อยๆ ตามอายุครรภ์(สุรีย์รัตน์ ชลันธร,2545) การรับประสาทสัมผัสของทารกเหล่านี้จะมีการพัฒนาอย่าง เฉพาะเจาะจงตามลำดับ โดยเริ่มจากประสาทสัมผัส การทรงตัว การรับกลิ่น และการรับรส ส่วนการได้ยินและ การมองเห็น จะมีการพัฒนาหลังสุดคือเมื่อทารกใกล้ครบกำหนดแล้ว การขาดการกระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ รวมทั้งการที่มารดาไม่มีการตอบสนองความต้องการของทารก จะทำให้ทารกเกิดภาวะซึมเศร้า มีความรู้สึกว่า ตนเองถูกทอดทิ้ง ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในอนาคตและ จากภาวะสังคม จิตใจ เช่นนี้ อาจทำให้ทารกเจริญเติบโตแบบแคระแกรน การนวดสัมผัสเด็กนั้นนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และเพิ่มประสิทธิภาพ ให้แก่ระบบการหมุนเวียนของเหลวต่างๆ ในร่างกายแล้ว การนวดสัมผัสยังเป็นวิธีการตอบสนองความต้องการ การสัมผัสขั้นพื้นฐานของทารกในระยะเดือนแรกๆ หลังจากการคลอดสภาพร่างกายของทารกที่เคยงอคุดคู้อยู่ใน ครรภ์ของมารดาจะเริ่มเหยียดตัวออก กระดูกและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ค่อยๆ เหยียดตรง ยืดขยายออกไป ข้อต่อ ต่างๆ เคลื่อนไหวบิดงอไปมาได้ ในช่วงระยะเวลานี้มารดาจึงควรนวดสัมผัสตัวทารก เพื่อช่วยบังคับและเสริมสร้างกล้ามเนื้อของทารกให้เกิดความแข็งแรง เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อ แต่การนวดต้องกระทำตามลำดับขั้นตอนต่างๆ อย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ (สุอารี ล้ำตระกูล,2551) การนวดสัมผัสทารกนอกจากจะ ช่วยผ่อนคลายความแข็งตรึงของกล้ามเนื้อแล้ว การนวดสัมผัสทารกยังเสริมสร้างกำลังให้แก่กล้ามเนื้อทำให้ สามารถทานน้ำหนักและประครองร่างกายให้เหยียดตรง เพิ่มความยืดหยุ่นให้ข้อต่อ ร่างกายสามารถบิดงอ เคลื่อนไหวไปมาได้ ก่อให้เกิดความสมดุลในการทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย การนวดสัมผัสตัวทารกยัง ส่งผลไปกระตุ้นระบบหมุนเวียนของของเหลวในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น การขับถ่ายของเสีย การสูบฉีดโลหิต รวมถึงกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสานงานกันทั่วทั้งร่างกาย และยัง สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับทารกให้ลดน้อยลง มารดาที่นวดสัมผัสตัวทารกเป็นประจำ สม่ำเสมอ สามารถค้นพบความเปลี่ยนแปลงหรืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเด็กโดยฉับพลัน (รัตนา งามบุณยรักย์, 2553) การนวดสัมผัสจะช่วยให้ร่างกายมีความรู้สึกสบาย มีสุขภาพจิตที่ดี เมื่อนำการนวดสัมผัสมาใช้ใน ทารกโดยการนวดอย่างนิ่มนวลจากมารดา จะช่วยทำให้ทารกมีความสุขสบาย นอนหลับได้ดี และร้องไห้น้อยลง การนวดท้องอาจช่วยบรรเทาอาการทารกที่ร้องจากการปวดท้องได้ ทารกที่ได้รับการนวดจะมีอารมณ์ดี ไม่หงุดหงิด และสิ่งที่สำคัญคือการนวดจะช่วยสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกได้ดียิ่งขึ้น (Dieter. J.N., et al, 2003) ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการนวดสัมผัสทารกโดยมารดาต่อการเจริญเติบโต และความรักความผูกพันระหว่างมารดาและทารก โดยให้มารดาได้สัมผัสบุตรด้วยการนวดสัมผัสซึ่งธรรมชาติ ของทารกจะมีความต้องการสัมผัส การปกป้องจากมารดา การนวดสัมผัสเป็นการติดต่อสื่อสารและการเรียนรู้ เบื้องต้นที่ดีของทารก และทำให้ทารกได้รับการตอบสนองที่สำคัญด้านจิตใจ มีอารมณ์แจ่มใสและช่วยให้ทารก สามารถสร้างความผูกพัน ที่มั่นคงกับผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ทารกมีพื้นฐานพัฒนาการที่ดีต่อไปในอนาคต ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านตอหลัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนวดกระตุ้นพัฒนาการทารก เพื่อให้ทารกได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มโอกาสแห่งการเรียนรู้ ทารกมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง  มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการนวดกระตุ้นพัฒนาการลูก สัมผัสแรกรักจากมารดา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถนวดกระตุ้นพัฒนาการทารกได้ถูกต้อง

ลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถนวดกระตุ้นพัฒนาการทารกได้ถูกต้อง ร้อยละ 90

17.00
2 เพื่อให้ทารกได้รับการนวดกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการ

ทารกได้รับการนวดกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการ ร้อยละ 100

19.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 19 6,920.00 1 6,920.00
27 เม.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการ 19 6,920.00 6,920.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มารดามีความรู้ สามารถนวดกระตุ้นพัฒนาการทารกได้ถูกต้อง
  2. ทารกได้รับการนวดกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม ตามวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2566 14:28 น.