กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงเพื่อป้องกันและควบคุมกลุ่มโรคไข้เลือดออก ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2484-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลบางขุนทอง
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 14,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกมลวรรณ ทองเพิ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.234,101.967place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 14,400.00
รวมงบประมาณ 14,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลบางขุนทอง มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปีงบประมาณ2535 จนถึงปัจจุบันและยังมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น จากสถานการณ์โรคในเขตตำบลบางขุนทอง ในปี 2556 - 2559พบผู้ป่วยจำนวน 7,10,1,41 ราย คิดเป็นอัตรา167.46 ,236.41, 43.06,177.21 ต่อแสนประชาชน ตามลำดับ กรมควบคุมโรคติดต่อได้กำหนดเกณฑ์ไว้ว่าควรมีผู้ป่วยไม่เกิน 50 /แสนประชากร จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าโรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาหนึ่งของตำบลบางขุนทอง การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน โรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ร่วมบูรณาการกันป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังโรคตลอดเวลา เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ไม่ให้มีลูกน้ำยุง สุ่มสำรวจความชุกลูกน้ำยุง ใส่ทรายฆ่าลูกน้ำยุง รณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการป้องกันและควบคุมโรค และเมื่อเกิดโรคขึ้นสามารถควบคุมการแพร่กระจายของโรคได้อย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนในพื้นที่ตำบลบางขุนทอง ทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชน
  1. อัตราป่วยด้วยกลุ่มไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน
  2. มีกิจกรรมสำรวจลูกน้ำทุกบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง/หมู่
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 การป้องกันและควบคุมของการระบาดของโรค 0 14,400.00 14,400.00
รวม 0 14,400.00 1 14,400.00

การดำเนินงานเฝ้าระวังโรค 1. จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยอสม. ตามเขตรับผิดชอบ 3. ประชุมชี้แจงโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน 4. ดำเนินกิจกรรมโครงการ - สำรวจลูกน้ำยุงลายบริเวณบ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบร่วมกับเจ้าบ้่านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง /หมู่ - ประชาสัมพันธ์ากรทำลายแหล่งน้ำเพาะพันธ์ุยุงลายทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ที่ 1 และ 2 ของทุกเดือน - จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคในชุมชน ได้แก่ การสาธิตคัดแยกขยะพ่นหมอกควัน และพ่นสเปรย์กันยุง ทรายอะเบทให้แก่ครัวเรือนที่ีมีผู้ป่วยและครัวเรือนใกล้เคียงเพื่อความคุมโรคเบื้องต้น -จัดกิจกรรมทำลายแหล่งน้ำเพาะพันธ์ุยุง คัดแยกและกำจัดขยะ ตามเขตรับผิดชอบของอสม.แต่ละคน 2เดือน/ครั้ง 5. สรุปผลการดำเนินงาน การดำเนินขณะระบาด -ใช้สารเคมีทำลายตัวแก่ลูกน้ำ(ทรายทีมีฟอส) และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงในบ้านและบริเวณหลังคาเรือนทุกหลังในละแวกที่มีการระบาดของโรค - พ่นยากันยุงและสนับสนุนโลชั่นกันยุง พ่นหมอกควันแก่หลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยและหลังค่าเรือนใกล้เคียงในระยะ 100 เมตร -สอบสวนโรคและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค -สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน องค์กรในชุมชน ในการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่่ำเสมอ
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2560 11:20 น.