กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง บ้านโหล๊ะจังกระ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 2566-L3306-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 17,752.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจำลอง อินนุรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1022 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1022 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ พบว่า โรคไม่ติดต่อ (Non communicable disease) เช่น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง กำลังกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนา พบว่ามีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกๆปี ซึ่งมีรายงานอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงทั่วโลก ประมาณ 50 ล้านคนในปี 2528 และเพิ่มขึ้นประมาณ 170 ล้านคนในปัจจุบัน และมีการคาดการณ์กันว่าในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น ๒ เท่า หรือประมาณ 300 ล้านกว่าคน จากการสำรวจในประเทศไทย พบว่า ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน ประมาณ 20,000 คน และอัตราความชุกของโรคเบาหวานในคนไทยที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปมีถึงร้อยละ 9.6 และที่สำคัญพบว่า ร้อยละ 50 ของคนที่ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคเบาหวาน ดังนั้น กว่าครึ่งหนึ่งของคนที่เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แต่ยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย จึงทำให้ต้องเสียโอกาสในการที่จะทราบว่าตนเองเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นโรค ที่จะต้องได้รับการป้องกันหรือรับการรักษา ซึ่งอาจจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง พิการ หรือเสียชีวิตได้ ผลกระทบที่สำคัญที่เกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงก็คือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับตา ไต ระบบประสาท ระบบหลอดเลือดหัวใจและสมอง และอาจจะนำไปสู่ความพิการและเสียชีวิตได้ นอกจากนั้น ยังส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจของผู้ป่วยและกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งของผู้ป่วย ครอบครัว และกระทบค่าใช้จ่ายระบบสุภาพของประเทศโดยรวมอีกด้วย และจากข้อมูลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของหน่วยบริการสาธารณสุขในอำเภอกงหรา ปีงบประมาณ 2565 พบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 104 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 846.42 ต่อแสนประชากร และพบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 95 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 682.22 ต่อแสนประชากร
  ในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระก็เช่นเดียวกัน ข้อมูลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของหน่วยบริการสาธารณสุขในอำเภอกงหรา ปีงบประมาณ 2565 พบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 45 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 875.75 ต่อแสนประชากรพบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 5 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 534.81 ต่อแสนประชากร มีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย และอายุในการเกิดโรคเริ่มลดลง ในการดำเนินงานสาธารณสุขเพื่อแก้ปัญหาโรคเรื้อรังนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรอง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเพื่อ กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคในทุกปี กลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแล กลุ่มสงสัยเป็นโรคได้รับการติดตามเฝ้าระวัง ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการวินิจฉัย และเข้าถึงการรักษาทุกราย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป

กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

2 2. เพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมาย อายุ 15-34 ปี ที่มีข้อบ่งชี้ความเสี่ยง

กลุ่มเป้าหมายอายุ 15-34 ปี ที่มีข้อบ่งชี้ความเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

3 ข้อที่ 3. เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย

มีการจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วย เพื่อการดูแลที่ต่อเนื่อง และส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

4 ข้อที่ 4. เพื่อค้นหากลุ่มผู้ป่วยรายใหม่

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับมีการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยโรค และเข้าสู่กระบวนการรักษาทุกราย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 1. กิจกรรมก่อนการคัดกรอง(15 ธ.ค. 2565-30 มี.ค. 2566) 1,400.00                    
2 2.กิจกรรมตรวจคัดกรอง(15 ธ.ค. 2565-30 ก.ย. 2566) 16,352.00                    
รวม 17,752.00
1 1. กิจกรรมก่อนการคัดกรอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 1,400.00 0 0.00
15 ธ.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 1.1 ประชุมทีมงานในการดำเนินงาน และวางแผนในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยทีม SRRT NCD จำนวน 70 คน โดยแยกประชุม รายหมู่บ้าน จำนวน 3 หมู่ 70 1,400.00 -
15 ธ.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 1.2 จัดทำกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรอง ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป และ กลุ่มอายุ 15-34 ปี ที่มีข้อบ่งชี้ในการเกิดโรค 0 0.00 -
2 2.กิจกรรมตรวจคัดกรอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1022 16,352.00 0 0.00
15 ม.ค. 66 - 15 ก.ย. 66 2.1 ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป 1,022 16,352.00 -
15 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 2.3 จัดทำทะเบียนแยก 4 กลุ่ม กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย กลุ่มป่วยรายใหม่ 0 0.00 -
  1. ดำเนินการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป และในกลุ่มอายุ 15- 34 ปี ที่มีข้อบ่งชี้ความเสี่ยง
  2. จัดทำทะเบียนการตรวจคัดกรองแยกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มผู้ป่วย
  3. ดำเนินการตรวจซ้ำในรายที่เข้าข่ายสงสัย หรือมีภาวะเสี่ยง
  4. ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ
  5. ติดตามตรวจในประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยซ้ำตามระยะเวลา
  6. ทำรายงานประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป และอายุ 15-34 ปี ที่มีข้อบ่งชี้ความเสี่ยง ได้รับการตรวจคัดกรอง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 และในกลุ่มที่คัดกรองแล้ว จะได้รับการประเมินสถานะสุขภาพ และจัดทำทะเบียนแยกกลุ่ม เพื่อเฝ้าระวัง และติดตาม เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดอัตราป่วยรายใหม่ และกลุ่มผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการวินิจฉัย เข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันท่วงที ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2566 14:58 น.