โครงการส่งเสริมการกินผักในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะจังกระ
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมการกินผักในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะจังกระ |
รหัสโครงการ | 2566-L3306-3-21 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะจังกระ |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2566 |
งบประมาณ | 4,095.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางศัลสิณี เลื่อนแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะจังกระ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.349,99.958place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะจังกระเป็นผักที่จัดซื้อจากท้องตลาด ซึ่งผักส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยปกติก่อนการปรุง แม่ครัวก็จะล้างทำความสะอาดอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถชะล้างสารตกค้างออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้เด็กในวัยก่อนเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วงทั้งนี้เนื่องจากเด็กบริโภคพืชผักและผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาวหากเด็กรับประทานผักมีสารเคมีปนเปื้อน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการลดละเลี่ยงเลิกการใช้สารพิษในการเกษตรแต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชินกับรูปแบบเดิมโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันใช้เป็นอาหารในครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ในปริมาณที่เพียงพอ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้เด็ก ได้รับประทานผักปลอดสารพิษจากโครงการส่งเสริมการกินผักในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะจังกระ 1.ร้อยละ 100 เด็กคนได้รับประทานผักปลอดสารพิษจากโครงการส่งเสริมการกินผักในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะจังกระ |
||
2 | 2 เด็กได้ออกกำลังกาย ได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ 2. ร้อยละ 100 ของเด็กได้ออกกำลังกาย ด้วยการพรวนดิน ปลูกผัก รดน้ำผัก พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ |
||
3 | 3 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก และเด็ก ได้มีการคัดแยกขยะ นำเศษผัก เศษอาหารมาทำปุ๋ยหมักลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีถังขยะเปียก และมีการทำปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มี.ค. 66 | เม.ย. 66 | พ.ค. 66 | มิ.ย. 66 | ก.ค. 66 | ส.ค. 66 | ก.ย. 66 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมรั้วกินได้(1 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) | 4,095.00 | |||||||
รวม | 4,095.00 |
1 กิจกรรมรั้วกินได้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 4,095.00 | 1 | 4,095.00 | |
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | กิจกรรมรั้วกินได้ | 0 | 4,095.00 | ✔ | 4,095.00 | |
๑ ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
๒ จัดทำโครงการและเสนอพิจารณาอนุมัติ
๓ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ/ประสานการดำเนินงาน
๔ จัดกิจกรรมที่จะดำเนินการตามโครงการ ดังนี้
- กิจกรรมปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้
- กิจกรรม การทำปุ๋ยหมัก
๕ สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
- เด็กได้รับประทานผักปลอดสารพิษจากโครงการ และผู้ปกครองนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับครัวเรือน
- เด็กเล็กผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษและสามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2566 09:58 น.