โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย รพ.สต.บ้านคู งบประมาณปี 2566
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย รพ.สต.บ้านคู งบประมาณปี 2566 |
รหัสโครงการ | 2566-L3306-2-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านคู |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2566 |
งบประมาณ | 28,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางหยาด นุ่นหยู่ |
พี่เลี้ยงโครงการ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านคู |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.349,99.958place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายเป็นจำนวนมาก และบางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญและได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน และได้กำหนดให้โรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนเพื่อดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายให้คลอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากรายงานทางระบาดวิทยา ๕ ปี ย้อนหลัง สำหรับเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู พบว่า ปี พ.ศ.๒๕๖๐ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน ๑๔ ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ ๒๕๖.๔๑ ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี พ.ศ.๒๕๖๑ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน ๒ ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ ๓๗.๐๔ ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี พ.ศ.๒๕๖๒ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน ๔ ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ ๗๓.๓๑ ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี พ.ศ.๒๕๖๓ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน ๓ ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ ๕๕.๕๖ ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี พ.ศ.๒๕๖๔ ไม่พบผู้ป่วย และในปี พ.ศ.๒๕๖๕ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน ๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ ๑๖.๖๗ ต่อแสนประชากร โดยไม่มี่รายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู ในปี ๒๕๖๐ เกิดขึ้นมากที่สุด มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกใกล้เคียงกับอัตราป่วยของอำเภอกงหราที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกณฑ์ที่กำหนดคือ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงร้อยละ ๒๐ ของค่ามัธยฐานของอัตราป่วยย้อนหลัง ๕ ปี อัตราป่วยไม่เกิน ๘๐ ต่อแสนประชากรต่อปี และเกณฑ์สำคัญที่นำมาพิจารณาคือ ค่าร้อยละของครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย (HI) ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ ของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งหมด และโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิด ปลอดลูกน้ำยุงลาย (CI=๐) ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู จึงเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ให้คลอบคลุมทุกพื้นที่ในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปี ๒๕๖๖ ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑ เพื่อป้องกันและหยุดการระบาดของโรคติดต่อ และโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในช่วงการระบาดของโรค ช่วงที่มีการระบาด และหลังการระบาดของโรค อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายของรพ.สต. บ้านคู ลดลง และมีการควบคุมการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดซ้ำ |
||
2 | ๒ เพื่อการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ในชุมชน และในสถานที่ราชการ และลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย 2.ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในโรงเรียน (Container Index=๐) และไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบริเวณบ้าน (House Index < ๑๐) |
||
3 | ๓ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน โรงเรียนและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรค 3.ชุมชนเกิดความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรค |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | ประชุมเตรียมความพร้อม คณะกรรมการทีม SRRT | 95 | 1,900.00 | ✔ | 1,900.00 | |
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | ค่าป้ายรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ จำนวน ๕ ป้าย | 0 | 1,500.00 | ✔ | 1,500.00 | |
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | ค่าตอบแทนในการพ่นกำจัดยุงตัวเต็มวัยก่อนเปิดเทอมในโรงเรียน | 0 | 4,400.00 | ✔ | 4,400.00 | |
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง | 0 | 3,000.00 | ✔ | 3,000.00 | |
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | ค่าวัสดุเคมีภัณฑ์ (สารกำจัดลูกน้ำ ยุงลาย,น้ำยาพ่นละอองฝอย,โลชั่น ทากันยุง,สเปรย์พ่นกำจัดยุงลาย) | 0 | 7,400.00 | ✔ | 7,400.00 | |
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม | 0 | 1,900.00 | ✔ | 1,900.00 | |
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม | 100 | 8,000.00 | ✔ | 8,000.00 | |
รวม | 195 | 28,100.00 | 7 | 28,100.00 |
วิธีดำเนินการ
๑. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
๒. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
๓. ประชุมให้ความรู้ทีม SRRT ในการดำเนินงานป้องกันก่อนการเกิดโรค ขณะเกิดโรค และหลังการเกิดโรค
ควบคุมกรณีเกิดโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
๔. กิจกรรมการรณรงค์ สร้างกระแสการดำเนินงานในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านคู
๕. กิจกรรมการป้องกันโรคล่วงหน้าในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนเปิดเทอม ปี ละ ๒ ครั้ง
ครั้งละ ๒ รอบ จำนวน ๑๑ แห่ง
๖. กิจกรรมการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของทุกหมู่บ้าน กำหนดสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง
๗. ดำเนินการควบคุม และป้องกันโรค กรณีเกิดโรคขึ้น เพื่อตัดวงจรการเกิดโรค และการป้องกันการ
ระบาดของโรคได้ทันท่วงที
๘. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายของรพ.สต. บ้านคู ลดลง และมีการควบคุมการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดซ้ำ (Second generation case) ๒. ประชาชนเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู มีความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตัวใน การป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้อย่างถูกต้อง และมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุม โรค ๒. เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อสม. ประชาชน และหน่วยงานสาธารณสุขในการ ควบคุมลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2566 10:17 น.