กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1 การอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจและ ติดตามการจัดกิจกรรมกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย/ 28 ก.ค. 2566 28 ก.ค. 2566

 

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช2560 ได้จัดทําขึ้นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้แก่เด็กโดยยึดแนวคิดสําคัญคือ 1) พัฒนาการของเด็ก2) พัฒนาเด็กโดยองค์รวม3) การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทํางานของสมอง4) การเล่นและการเรียนรู้ของเด็ก5) การคํานึงถึงสิทธิและการสร้างคุณค่าและสุขภาวะ6) การอบรมเลี้ยงดูความรู้การให้การศึกษา7) การบูรณาการ8) สื่อเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้9) การประเมินตามสภาพจริง10) การมีส่วนร่วมของครอบครัวสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและ11) ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงความเป็นไทยและความหลากหลายเมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัยกําหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จํานวน12 มาตรฐาน พัฒนาการด้านสติปัญญาในมาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย ตัวบ่งชี้ที่ 9 สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ สภาพที่พึงประสงค์อายุ 5-6ขวบ
การพัฒนาทักษะสมอง (EF) ในเด็กปฐมวัย นับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่สมอง ส่วนหน้าพัฒนามากที่สุดการมีทักษะสมอง (EF) จะช่วยให้เด็กสามารถฟันฝ่า อุปสรรคและลุกขึ้นสู้ต่อไปได้การส่งเสริมทักษะสมอง (EF) ทุกด้าน จะช่วยให้เด็กมีทักษะการปรับตัว และฟื้นตัว หลังเหตุการณ์วิกฤตได้ทักษะสมอง (EF) จึงเป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้บุคคล ดำเนินชีวิตได้ อย่างมีความสุข แต่ปัจจุบันพบว่ามีเด็กวัย 2-6 ปีมีปัญหาพฤติกรรมที่เป็นความ บกพร่องของทักษะสมอง (EF) ประมาณ 30% คือเป็นเด็กที่มีความบกพร่องอย่างชัดเจน 16% และ บกพร่องเล็กน้อย 14% ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้าน EF ล่าช้า คือ พบ ประมาณ 29% โดยเป็นเด็กที่มีพัฒนาการด้านทักษะสมอง (EF) ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างชัดเจน14% และ ต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย15% ทั้งนี้ทักษะสมองด้าน (EF) ที่เป็นปัญหามากเป็นอันดับ 1) คือปัญหาด้าน การหยุด 2) ปัญหาด้านความจำขณะทำงานและ 3) ปัญหาการควบคุมอารมณ์ซึ่งจะส่งผลด้านลบต่อ ความพร้อมและความสำเร็จทางการเรียนในระดับที่สูงขึ้น
โรงเรียนบ้านลากอ ตระหนักและเห็นความสำคัญของเด็กปฐมวัย จึงจัดทำโครงการ "พัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทาน โดยจัดแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและการพัฒนาเด็กร่วมกันทั้ง บ้านและโรงเรียน " การเตรียมการส่งเสริมของครูและการร่วมกันพัฒนาเด็กของผู้ปกครองจะช่วยพัฒนาจิตใจเด็กได้อย่างดี เนื้อหาและกระบวนการจัดประสบการณ์โดยนิทานช่วยให้เด็กได้รู้จักคิด รู้จักการแก้ปัญหา และเป็นการกระตุ้นให้เด็กรักการอ่านมากขึ้น

 

  1. เด็กปฐมวัยมีทักษะสมอง(EF)และสามารถจัดการตนเองได้ดียิ่งขึ้น
  2. เด็กปฐมวัยผู้ปกครองได้มีกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น สร้างสายสัมพันธ์ที่แนบแน่น มั่นคงภายใน ครอบครัว