กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.ก้าวไกลร่วมใจปฎิบัติงานเชิงรุกในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L5218-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ตำบลคลองแดน
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 22 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 22 กันยายน 2566
งบประมาณ 36,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิตยา อาทรกิจ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.912,100.319place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มี.ค. 2566 22 ก.ย. 2566 36,540.00
รวมงบประมาณ 36,540.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 87 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยใช้กลวิธีสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย ดำเนินมากว่า 20 ปี มีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นกลไกสำคัญในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง อสม. ถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ โดย อสม. ๑ คน ดูแลรับผิดชอบประชาชน ๘-๑๕ หลังคาเรือน ซึ่งในปัจจุบัน อสม.ต้องมีบทบาทมากขึ้นทั้งในการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพให้กับคนในชุมชน การให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน การเป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ กับประชาชน และกลุ่ม/องค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการดูแลจัดการด้านสุขภาพ เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาด้านอื่นๆ การรวมพลังกับแกนนำสุขภาพอื่นๆ ในการสร้างสุขภาพ การเฝ้าระวังโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ รวมถึงเป็นผู้นำในการรณรงค์ด้านสุขภาพต่างๆ ในชุมชน จากสภาพปัญหาและวิถีของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ อสม.จำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการ จัดการด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีส่วนร่วมเฝ้าระวังสุขภาพ ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ เป็นแกนนำการดูแลและจัดการด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน ทางชมรมจึงได้จัดทำโครงการ อสม.ก้าวไกลร่วมใจปฎิบัติงานเชิงรุกในชุมชนขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้ อสม.เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถตามสภาพปัญหาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเชิงรุกงานควบคุมป้องกันโรค

 

2 เพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิตัลในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ

 

3 เพื่อส่งเสริมและติดตามประเมินภาวะสุขภาพแก่ กลุ่มเด็กอายุ 0 – 5 ปี, กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ,หญิงหลังคลอด และกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. .เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากกองทุนฯ
  2. ประชุมประธาน อสม./คณะทำงาน อสม.เพื่อชี้แจงโครงการ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย
  4. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการปฏิบัติงานสุขภาพเชิงรุกในชุมชนแก่ อสม.
  5. อบรมเชิงปฎิบัติการการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแก่ อสม.
  6. ปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชนโดยการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 5 ปี การติดตามการรับวัคซีนในเด็ก 0 – 5 ปี, การแนะนำการรับบริการฝากครรภ์ การเยี่ยมหญิงหลังคลอด, และการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป, การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.เป้าหมาย มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเชิงรุก และนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติงานในพื้นที่
  2. อสม.เป้าหมายมีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
  3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง สามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2566 14:33 น.