กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสวัสดิการหนังสือ รากฐานการอ่านเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัย
รหัสโครงการ 66-L5218-3-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2565 - 22 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 22 กันยายน 2566
งบประมาณ 50,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรพร จันทร์แก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.912,100.319place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มี.ค. 2566 22 ก.ย. 2566 50,600.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 50,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จังหวัดสงขลาได้มีหนังสือที่ สข 0023.3/ว 7569 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เรื่อง การขับเคลื่อน เชิงนโยบายสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย" โดยขอความร่วมมือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาที่ จัดการศึกษาระดับปฐมวัยและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสานพลัง ขันเคลื่อนให้เกิดนโยบายสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย ซึ่งได้กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นไว้ดังนี้ (1) สนับสนุนหนังสือเด็กให้เหมาะสมตามจำนวนเด็ก (2) ใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ ท้องถิ่น (กปท.) ในการพัฒนาเด็กอย่างน้อยร้อยละ 15 (3) ส่งเสริมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและสนับสนุนหนังสือแก่ เด็ก (4) นโยบายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ความรู้แก่พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็ก (5) นโยบายสาธารณะที่มุ่งสร้างเสริมให้การ พัฒนาเด็กปฐมวัยอยู่ในวิถีสุขภาวะอย่างต่อเนื่อง ปัญหาและสภาวะวิกฤต ในปัจจุบันพบว่า เด็กปฐมวัยในสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะการที่เด็กเข้าถึงสื่อ จอ สื่อออนไลน์ได้ง่ายขึ้น ส่งผลกระทบที่สำคัญ เช่น ปัญหาการพัฒนาการด้านภาษา ทำให้เด็กพูดช้า สื่อสารไม่ได้ปัญหาพฤติกรรม เช่น มีภาวะอารมณ์ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง ขาดสมาธิ พัฒนาการถดถอย (Learning loss) ทั้งทักษะการเรียนรู้และทักษะทางสังคม ผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากเกิดจากมาตรการ การปิดสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย แล้ว ยังเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองต่อการใช้สื่อจอ และการขาดสื่อและกระบวนการที่เหมาะสม ในการพัฒนาศักยภาพ พัฒนาการและสมองของเด็กให้เติบโตตามวัยอีกด้วย ข้อมูลอ้างอิงจาก เครือข่ายสร้างเสริม วัฒนธรรมการอ่านเพื่อเด็กปฐมวัยร่วมกันภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง การดำเนินงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านเพื่อเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กยังคงมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกมิติ ทั้ง สุขภาพร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา รวมถึงทักษะการสื่อสาร นอกจากนั้นกิจกรรมการอ่านยังสร้างความสัมพันธ์ อันดีภายในครอนครัว และสร้างโอกาสให้คนทุกกลุ่มวัยในชุมชนเข้ามาร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและ คุณภาพชีวิตของชุมชนอีกด้วย ในช่วง 6 ปีแรกของชีวิต พัฒนาการด้านต่างๆของเด็กจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สมองของวัยนี้มีอัตราการ เจริญเติบโตสูงสุดกว่า 80% หลังจากนั้นอัตราการสร้างสายใยประสาทจะลดลงและมีการปรับเปลี่ยนทางด้านโครงสร้างเพียงเล็กน้อย การให้เด็กได้มองเห็นภาพจากหนังสือ ได้ฟังถ้อยคำจากหนังสือและได้รับการสัมผัสจากคุณพ่อคุณแม่ ผู้เลี้ยงดู ฯลฯ ขณะอ่านให้ฟัง ทำให้วงจรแห่งการเรียนรู้ของสมองได้รับการกระตุ้นและสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ ซึ่งจะคงอยู่อย่างถาวรและมีประสิทธิภาพ หากขาดการกระตุ้นด้วยประสบการณ์ซ้ำๆ หรือไม่ได้รับการกระตุ้นในเวลาที่เหมาะสม ก็จะไม่มีโอกาสสร้างได้อีกหรือเกิดการเรียนรู้ได้ยากมาก และเกิดพัฒนาการถดถอย(Learning Loss) หนังสือและการอ่าน เป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษา ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญมาก เนื่องจาก เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ทั้งด้านสังคม อารมณ์ การสื่อสาร การคิดและสติปัญญาความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาพูดในช่วงปฐมวัย มีความต่อเนื่องกับการพัฒนาทักษะพื้นฐานของภาษาอ่านและ เขียนในช่วงวัยเรียนอย่างชัดเจน เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาพูดผิดปกติ จะมีความเสี่ยงต่อปัญหาการ เรียนที่ผิดปกติ ตลอดจนปัญหาด้านอารมณ์ สังคม ทั้งในช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น การส่งเสริมการอ่านหนังสือให้เด็กปฐมวัยฟัง จึงเป็นกิจกรรมที่สร้างทักษะทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน รวมถึงการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญอย่างยิ่งต่อเรียนรู้ตลอดชีวิตของมนุษย์ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแดน ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการสร้างรากฐานการอ่านให้เด็กตั้งแต่อายุ 0-6 ขวบ จึงได้เสนอโครงการ สวัสดิการหนังสือรากฐานการอ่านเพื่อสร้างเสริมวิถีสุขภาวะเด็กปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างรากฐานการอ่านและสร้าง เสริมสุขภาวะของเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลคลองแดน เพื่อแก้ไขปัญหากาวะถดถอยพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก (Learning Loss) และผลักดันให้การอ่านเป็นรากฐานแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดู ฯลฯ ได้เห็นถึงความสำคัญของการอ่าน เพื่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาศักยภาพสมองและสมรรถนะของเด็กปฐมวัยด้วยการอ่านและการเล่น

 

2 เพื่อจัดให้เด็กปฐมวัย อายุ 0-6 ขวบ มีหนังสือภาพ หนังสือนิทานที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับวัยและ บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน.อย่างน้อย 2-3 เล่มในบ้าน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ร่างข้อเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติและขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
  2. ประชุมชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
  3. ดำเนินการจัดซื้อ จัดหาหนังสือดีมีคุณภาพ เหมาะสมกับวัย มีปริมาณเพียงพอต่อเด็ก 4..ดำเนินการจัดอบรม/ให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก รวมถึงแม่ตั้งครรภ์และครอบครัว ร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่
  4. ติดตามและประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ ที่เข้าทำกิจกรรมในศูนย์เรียนรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะสมองเด็กปฐมวัย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาศักยภาพสมองและสมรรถนะของเด็กปฐมวัยด้วยการอ่านและการเล่น
  2. เด็กปฐมวัย อายุ 0-6 ขวบ มีหนังสือภาพ หนังสือนิทานที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับวัยและ บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน.อย่างน้อย 2-3 เล่มในบ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2566 23:02 น.