กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนครตรัง วัยใส หัวใจไม่ว้าวุ่น
รหัสโครงการ 2566-L6896-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 118,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเทศไทยมีประชากรวัยรุ่น (10-19 ปี) จำนวนประมาณ 8.7 ล้านคน หรือเท่ากับร้อยละ 13 ของประชากรทั้งประเทศ วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ไปสู่วุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ จึงถือได้ว่าเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต คืออยู่ระหว่างความเป็นเด็กและความเป็นผู้ใหญ่ ที่ต้องเรียนรู้ถึงความเป็นตัวของตัวเอง และเป็นวัยที่มักเกิดปัญหาในชีวิตมากที่สุด หนึ่งในปัญหาดังกล่าวคือ ปัญหาด้านสุขภาพ อันได้แก่ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และการใช้ยาเสพติด สำหรับปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังคงเป็นปัญหาที่ท้าทาย โดยในปี ๒๕๖๔ อัตราการคลอดมีชีพในกลุ่มประชากรวัยรุ่นเพศหญิงอายุ 15-19 ปี ยังสูงถึง 24.4 : 1,000 คน และในวัยรุ่นเพศหญิงอายุ 10-14 ปี ยังอยู่ที่ 0.9 : 1,000 คน ส่วนปัญหาเรื่อง การใช้ยาเสพติดในวัยรุ่น ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องตระหนักถึงความรุนแรงและต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขโดยเร็ว ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดป็นวาระแห่งชาติ ที่หน่วยงานทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อประชากรวัยรุ่นในวงกว้าง การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ และด้านเศรษฐกิจและสังคม การคลอดในวัยรุ่นมีผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และทารก อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักน้อย และส่วนใหญ่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมักเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ จึงมักจะจบลงด้วยการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนจากการทำแท้ง ซึ่งนำไปสู่ความพิการหรือเสียชีวิต ในด้านเศรษฐกิจและสังคม วัยรุ่นมักไม่มีความสามารถเพียงพอในการเลี้ยงดูบุตร หรือการดำเนินชีวิตครอบครัว ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่แม่วัยรุ่นจำนวนมากหยุดเรียนหรือเลิกเรียนกลางคัน เนื่องจากถูกกดดันจากสถานศึกษา ไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อน และคนในชุมชน หรือมีความจำเป็นต้องออกจากโรงเรียนเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว เป็นต้น การไม่ได้รับการศึกษาหรือได้รับการศึกษาน้อย ย่อมส่งผลต่อการหางานและการประกอบอาชีพในอนาคตของแม่วัยรุ่น ทำให้ไม่สามารถหางานที่ดีมีรายได้สูงได้ตามที่ต้องการ ส่งผลให้มีรายได้ไม่พอจ่าย ปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัวมักก่อให้เกิดความเครียดตามมา นำไปสู่การใช้ความรุนแรงในครอบครัว และอาจจบลงด้วยการหย่าร้าง เกิดปัญหาต่อเนื่องไปยังตัวลูกที่จะเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่แตกแยก ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมด้านอื่นๆ ตามมา เช่น วัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวอาจหันไปพึ่งพายาเสพติดและอบายมุข เพื่อบรรเทาความเครียดจากการที่ต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านั้น งานส่งเสริมสุขภาพ เทศบาลนครตรัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัด โครงการนครตรัง วัยใส หัวใจไม่ว้าวุ่น เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นมีความรู้เรื่องเพศศึกษา การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น พร้อมทั้งรับทราบถึงปัญหาและผลกระทบจากพิษภัยของยาเสพติด สร้างการมีส่วนร่วมในการรณรงค์ ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา นำไปสู่การป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดและการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเพศศึกษา และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น รวมถึงการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเพศศึกษา และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น รวมถึงการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมประเมินความรู้(17 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 400.00          
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(17 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 118,000.00          
รวม 118,400.00
1 กิจกรรมประเมินความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 400.00 1 0.00
17 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ประเมินความรู้เรื่องเพศศึกษา และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น การป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข ก่อนและหลังอบรม 0 400.00 0.00
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 118,000.00 1 105,800.00
17 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 การอบรมให้ความรู้เรื่อง เพศศึกษา และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น 0 118,000.00 105,800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนสามารถจัดการและป้องกันตนเองจากสถานการณ์เสี่ยงที่นำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พร้อม
  2. เด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันและทักษะในการปฏิเสธเพื่อป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2566 10:06 น.