กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมนักเรียนและแกนนำ อย. น้อยคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนบ้านสามแยก ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L2518-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านสามแยก
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 5,225.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา รัตนะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสวรรค์ สาและ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านสามแยก อำเภอแว้ง จ.นราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กที่อยู่ในวัยเรียน เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล โรงเรียนบ้านสามแยก จัดทำโครงการ อย.น้อยคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน โดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตาให้ อย.โดยการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพและโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนสมาชิกแกนนำ อย.น้อย มีส่วนร่วมในการช่วยกันตรวจสอบ และเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ และทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนนำความรู้ทักษะไปปฏิบัติ โรงเรียนบ้านสามแยก จึงได้จัดทำโครงการอย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ อย.น้อย และเพื่อช่วยให้โรงเรียนตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียน และแกนนำ อย.น้อย ได้รับความรู้ในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพภายใต้โครงการอาหารปลอดภัย สุขาน่าใช้ เด็กไทยฟันดีและการตรวจสุขภาพ 10 ท่าได้ถูกต้อง

นักเรียนและแกนนำ อย.น้อย มีความรู้ในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพภายใต้โครงการอาหารปลอดภัย สุขาน่าใช้ เด็กไทยฟันดีและการตรวจสุขภาพ 10 ท่าได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

50.00 50.00
2 2.เพื่อให้นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียนและชุมชนได้

นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียนและชุมชนได้เพิ่มขึ้น

50.00 50.00
3 3.เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียนและบุคคลอื่นๆในโรงเรียนและชุมชนได้

มีเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์  ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียนและบุคคลอื่นๆในโรงเรียนและชุมชนได้มากขึ้น

50.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 5,225.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้ 50 4,450.00 -
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 ฝึกปฏิบัติการ 50 775.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและแกนนำ อย.น้อย ทุกคนมีความรู้ในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพภายใต้โครงการอาหารปลอดภัย สุขาน่าใช้ เด็กไทยฟันดีและการตรวจสุขภาพ 10 ท่าได้ถูกต้อง
  2. นักเรียนและแกนนำ อย.น้อยมีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับให้แก่เพื่อนนักเรียนและครอบครัว
  3. นักเรียนและแกนนำ อย.น้อย สามารถดำเนินกิจกรรม อย.น้อยทั้งในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2566 13:49 น.