กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมี และการป้องกันตนเองที่ ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมี และการป้องกันตนเองที่ ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 80
0.00 0.00 80.00

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมี และการป้องกันตนเองที่ ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

2 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพผู้เสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับการประเมินและเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพ
0.00 0.00 100.00

ร้อยละ 100 ของผู้เสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับการประเมินและเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพ

3 เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจักศัตรูพืช
ตัวชี้วัด :
0.00 100.00

ประชาขนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด

4 เพื่อตรวจสุขภาพ รักษาพยาบาลและขับพิษสารเคมีออกจากร่างกายของเกษตรกร
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพรักษาพยาบาลและขับพิษสารเคมีออกจากร่างกาย
0.00 98.00

ร้อยละ 98 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพรักษาพยาบาลและขับพิษสารเคมีออกจากร่างกาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเนื่องจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นปัญหาใหญ่และรุนแรงมากของสังคมไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสังคมไทยยังขาดความตระหนักร่วมกันอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนทั่วไป สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น เขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ นา , สวนยางพารา สวนผลไม้ และปลูกผักสวนครัว ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงขึ้น ดังนั้น กลุ่ม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ ม.4,6,8,9 ต.มะกอกเหนือ จึงได้จัดทำโครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ม.4,6,8,9 ต.มะกอกเหนือ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไปโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมี และการป้องกันตนเองที่ ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (2) เพื่อประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพผู้เสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (3) เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจักศัตรูพืช (4) เพื่อตรวจสุขภาพ รักษาพยาบาลและขับพิษสารเคมีออกจากร่างกายของเกษตรกร ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รพ.สต. ,อสม.แกนนำผู้รับผิดชอบโครงการ (2) ชี้แจงโครงการแก่กลุ่มเสี่ยงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ (3) ตรวจหาสารเคมีและจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรและรณรงค์ปลูกผักปลอดสารพิษ (4) ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่ 2 และประเมินผลสุขภาพรอบที่ 2 (5) ประสานงานสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อส่งต่อรักษา (6) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh