กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ15 มิถุนายน 2566
15
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน โดย  แกนนำสุขภาพชุมชนตลาดใต้และชุมชนหลังโรงรียนคลองภาษี 09.00 น. – 09.10 น. พิธีเปิด - กล่าวเปิด โดย นายกเทศมนตรีเมืองกันตัง  (นายสรนนท์  จิโรจน์มนตรี) - กล่าวรายงาน โดย ตัวแทนแกนนำสุขภาพ 2 ชุมชน (นางวราพร  ช่วยแจ้ง) 09.10 น. – 10.00 น. บรรยายเรื่อง  โรคและความผิดปกติในช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง       ( ทันตแพทย์หญิงสกลวรรณ  ศรีธรรมานุวัฒน์ ) 10.00 น. – 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.10 น. – 12.00 น. บรรยายเรื่อง  การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงวัย โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง       ( ทันตแพทย์หญิงสกลวรรณ  ศรีธรรมานุวัฒน์ ) 12.00 น. – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 15.00 น. แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้  3  ฐาน  คือ - ฐานที่  1  การแปรงฟันที่ถูกวิธี โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง       ( ทันตแพทย์หญิงสกลวรรณ  ศรีธรรมานุวัฒน์ ) - ฐานที่  2  การใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากและฟัน โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง       ( นางอิชยา  ทองโอ  นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ) - ฐานที่  3  การเสริมสร้างความแข็งแรงของช่องปาก/การนวดกระตุ้นต่อมน้ำลาย โดย  วิทยากรจากศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง       ( นายณัฐพงษ์  ควนวิไล  เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน ) 15.00 น. – 15.30 น.  กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในผู้สูงอายุ โดย  ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง/ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง 15.30 น. – 16.00 น. - ประเมินความพึงพอใจ - ตอบข้อซักถาม/สรุปผลการเรียนรู้

..........................................................................................

หมายเหตุ  ช่วงบ่ายเวลา  14.00 – 14.10 น. รับประทานอาหารว่างระหว่างเข้าฐานเรียนรู้ ดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกันกับชุมชนหลังโรงเรียนคลองภาษี  (โครงการผู้สูงวัยชุมชนหลังโรงเรียนคลองภาษี  ใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ปี  2566)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติแก่ผู้สูงอายุในชุมชน ที่สนใจเข้าร่วมโครงการเป้าหมายจำนวน 50 คน  ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 51 คน  เมื่อวันที่  15  มิถุนายน  2566  ณ  อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง ในเรื่องโรคและความผิดปกติในช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ  การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงวัย  แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้  3  ฐาน  คือการแปรงฟันที่ถูกวิธี  การใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากและฟัน  การเสริมสร้างความแข็งแรงของช่องปาก/การนวดกระตุ้นต่อมน้ำลาย  พร้อมตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและฟัน  โดยทันตแพทย์และเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขจากโรงพยาบาลกันตังและศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง ซึ่งดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกันกับชุมชนหลังโรงเรียนคลองภาษี  (โครงการผู้สูงวัยชุมชนหลังโรงเรียนคลองภาษี  ใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ปี  2566)
  2. ผลการตรวจสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน พบว่า มีปัญหาฟันผุต้องถอน จำนวน  14 คน  ฟันผุต้องอุด จำนวน  5 คน  มีหินปูน  จำนวน 25 คน  มีฟันแท้คู่สบอย่างน้อย 4 คู่  จำนวน 19 คน  ในรายที่มีปัญหา ประสานส่งต่อไปรับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตังและโรงพยาบาลกันตัง
  3. ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรมเป้าหมายจำนวน  50  คน  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  50  ชุด  ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ 78.4 มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  3.92  โดยมีผลการประเมินแต่ละด้านดังนี้ 3.1 ด้านวิทยากร  และสื่อที่ใช้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย  3.85  คิดเป็นร้อยละ 77

- เนื้อหาครบถ้วนเหมาะสม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 3.88  คิดเป็นร้อยละ 77.6
- วิทยากรถ่ายทอดความรู้ และตอบข้อซักถามได้ชัดเจน  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย  3.78  คิดเป็นร้อยละ  75.6 - สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  3.88 คิดเป็นร้อยละ  77.6 3.2  ด้านความรู้ ความเข้าใจ  และการนำไปใช้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  3.93 คิดเป็นร้อยละ  78.6 - มีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  3.86 คิดเป็นร้อยละ  77.2 - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  3.96 คิดเป็นร้อยละ  79.2 - สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  3.98  คิดเป็นร้อยละ  79.6 3.3  ด้านสถานที่/ระยะเวลา  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย  3.97  คิดเป็นร้อยละ 79.4 - สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 3.92  คิดเป็นร้อยละ  78.4 - ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสมเพียงใด  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 4.02 คิดเป็นร้อยละ  80.4 3.4  ภาพรวมของโครงการ  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ย 3.92 คิดเป็นร้อยละ 78.4 4. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของโครงการ ดังนี้ 1). ร้อยละ 100 ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน ได้รับการดูแล ส่งเสริมป้องกันและรักษา
2). ร้อยละ 78.4 ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก (ตัวชี้วัดร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก)