กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจ สูงวัย ฟันดี
รหัสโครงการ 66-L7010-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มิถุนายน 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 26,191.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชฎีมาศ ชัยวิริยะวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฐวิทย์ เดชรักษา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุปัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 มิ.ย. 2566 30 มิ.ย. 2566 26,191.00
รวมงบประมาณ 26,191.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ จากผลการสำรวจสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุไทยอายุ 60-74 ปี พบว่า ผู้มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ ร้อยละ 56.1 ผู้มีฟันถาวรใช้งาน 20 ซี่ และมีฟันหลัง 4 คู่สบ ร้อยละ 39.4 มีปัญหาการสูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 8.7 มีความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมบางส่วน ร้อยละ 42.6 ความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมทั้งปากร้อยละ 2.7 ผู้ที่มีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 52.6 และมีรากฟันผุ ร้อยละ 16.5 ส่วนโรคปริทันต์ พบว่า มีการทำลายของอวัยวะปริทันต์ที่อยู่รอบรากฟันหรือมีร่องลึกปริทันต์ร้อยละ 36.3 โดยมีสภาวะปริทันต์อักเสบรุนแรง ร้อยละ 12.2 ส่วนในผู้สูงอายุตอนปลายอายุ 80 - 85 ปีมีการสูญเสียฟันถาวรเพิ่มขึ้น ผู้ที่มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ ร้อยละ 22.4 และมีฟันหลังสบกัน 4 คู่สบ ร้อยละ 12.1 ผู้สูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 31.0 มีรากฟันผุร้อยละ 12.5 และมีความจำเป็นต้องใส่ฟันเทียมทั้งปาก ร้อยละ 13.1   จึงเป็นที่มาของแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ประเทศไทย พ.ศ. 2558 - 2565 เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ซึ่งกำหนดประเด็นปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุไว้ 7 ประเด็นสำคัญ โดยมี 6 ประเด็น ระบุไว้ในรายงานขององค์การอนามัยโลกและมีประเด็นที่เพิ่มเติม ดังนี้
  1. การสูญเสียฟันและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใส่ฟัน
  2. ฟันผุและรากฟันผุ
  3. โรคปริทันต์
  4. แผลและมะเร็งช่องปาก
  5. สภาวะน้ำลายแห้ง
  6. ฟันสึก
  7. สภาวะช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบของผู้สูงอายุ   นอกจากนี้ จากผลสำรวจการรับรู้และการรับบริการด้านทันตสุขภาพ ด้านการสื่อสารความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก พบว่า การสื่อสารผ่านบุคลากรสาธารณสุขเป็นช่องทางหลักที่ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากมากที่สุด ร้อยละ 54.7 รองลงมาคือโทรทัศน์และอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชนร้อยละ 36.2 และ 17.2 ตามลำดับ ส่วนช่องทางออนไลน์ต่างๆและโปสเตอร์/แผ่นพับ/สิ่งพิมพ์ ยังเข้าถึงผู้สูงอายุได้น้อย ร้อยละ 2.4 และ 4.0 ตามลำดับ
  จึงเป็นที่มาของโครงการ ร่วมใจ สูงวัย ฟันดี อันเป็นโครงการซึ่งเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันของบุคลากรสาธารณสุข ภาคประชาชน และการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีในอนาคต โดยจัดอบรมให้ความรู้กลุ่มอาสาสมัครแกนนำสาธารณสุขภาคประชาชน เกี่ยวกับโรคในช่องปากเบื้องต้น โรคทางระบบที่สอดคล้องกับปัญหาสภาวะช่องปากในผู้สูงอายุ รวมถึงวิธีการดูแลทำความสะอาดช่องปาก ทำให้สามารถเป็นตัวกลางสำคัญในการสื่อสารและเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ได้โดยตรง ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสได้รับความรู้ที่ถูกต้องจากบุคลากรสาธารณสุข ลดข้อจำกัดของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพร่างกายและเดินทางลำบาก อันเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพร่างกายต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในช่องปากเบื้องต้น โรคทางระบบที่สอดคล้องกับปัญหาสภาวะช่องปากในผู้สูงอายุ รวมถึงวิธีการดูแลทำความสะอาดช่องปากถูกต้อง 2.กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี สามารถแปรงฟันและทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน มีคะแนนทดสอบความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการอบรม
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน มีคะแนนทดสอบหลังการอบรมมากกว่าร้อยละ 70
  • ร้อยละ 100 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน ได้รับคำแนะนำ จนสามารถแปรงเพื่อขจัดคราบสีย้อมได้อย่างถูกต้อง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณ
1 1. บรรยายเรื่อง “ปัญหาสุขภาพช่องปากและวิธีการดูแลรักษา”(30 มิ.ย. 2566-30 มิ.ย. 2566) 0.00
2 ย้อมสีฟันและแปรงฟันอย่างถูกวิธี(30 มิ.ย. 2566-30 มิ.ย. 2566) 0.00
รวม 0.00
1 1. บรรยายเรื่อง “ปัญหาสุขภาพช่องปากและวิธีการดูแลรักษา” กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 ย้อมสีฟันและแปรงฟันอย่างถูกวิธี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในช่องปากเบื้องต้น โรคทางระบบที่สอดคล้องกับปัญหาสภาวะช่องปากในผู้สูงอายุ รวมถึงวิธีการดูแลทำความสะอาดช่องปากถูกต้อง
  2. กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี สามารถแปรงฟันและทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
  3. ผู้สูงอายุในตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี มีโอกาสได้รับความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้องจากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขภาคประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2566 11:45 น.