กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชุมชน (คนท่าโพธิ์รวมใจ ใส่ใจสุขภาพช่องปาก) ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ L5246-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเนียน
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 66,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเนียน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 450 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นทุกกลุ่มอายุและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆตามการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินชีวิตและฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งธรรมชาติของการเกิดโรคในช่องปากนั้น มีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงวัย เนื่องจากพฤติกรรมแต่ละช่วงวัยและปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น โรคฟันผุมักจะเกิดในกลุ่มเด็ก โรคเหงือกอักเสบในกลุ่มวัยทำงาน และภาวะไม่มีฟันเคี้ยวเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรคในช่องปาก ดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การรับรู้ ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก ปัจจัยด้านแรงสนับสนุนจากสังคมและอื่นๆรวมถึงการเข้าถึงระบบบริการที่ครอบคลุมและทั่วถึง และจากการสำรวจสุขภาพช่องปากของประชาชนตำบลท่าโพธิ์ ปี 2564 พบปัญหาฟันผุ ดังนี้ เด็กอายุ 18 เดือน ฟันผุร้อยละ 19.88 เด็กอายุ 3 ปี ฟันผุ ร้อยละ 65.41 เด็กอายุ 12 ปี ร้อยละ 57.46 โรคเหงือกอักเสบ ร้อยละ 42.12 และผู้สูงอายุมีฟันน้อยกว่า 20 ซี่ ร้อยละ 21.3 จากปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปากของประชาชนข้างต้นนั้น การดำเนินงานแก้ไขปัญหาของ รพ.สต.โคกเนียนได้มีการส่งเสริมทันตสุขภาพทั้งเชิงรุกและเชิงรับ แต่พบว่ากระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชนและการสร้างกระแสสังคมยังน้อย ไม่มีแกนนำด้านทันตสุขภาพ ส่งผลให้ปัญหาโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบยังไม่สามารถแก้ไขได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
    ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชุมชนเพื่อป้องกันและหยุดยั้งการเกิดโรคในช่องปากให้เกิดผลสำเร็จได้นั้น ชุมชนในพื้นต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำชุมชน เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีบทบาทการสร้างสุขภาวะที่ดีให้แก่คนในชุมชน พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการบูรณาการงานพัฒนาสุขภาพระหว่างคนในชุมชนกับรพ.สต.ได้ดี จึงจัดทำโครงการขึ้นเพื่อสร้างแกนนำด้านทันตสุขภาพในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำบ้านและผู้นำชุมชน ให้มีองค์ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับทันตสุขภาพ มีทักษะการดำเนินงานด้านทันตกรรม สามารถเป็นตัวอย่างและเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่คนในชุมชน และจัดกิจกรรมการให้บริการเชิงรุกในชุมชนให้สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุม ทั่วถึงทุกกลุ่มอายุและจัดกิจกรรมการสร้างกระแสสังคมโดยจัดเป็นมหกรรมทันตสุขภาพให้เกิดขึ้นในชุมชนเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนัก หันมาใส่ใจการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองมากขึ้นและเพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและโรคอื่น ๆที่มีผลมาจากสาเหตุการเกิดโรคฟันผุ เพื่อให้สามารถมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำ อสม.และแกนนำชุมชนด้านทันตสุขภาพให้เกิดขึ้นในชุมชน

เกิดแกนนำ อสม.ทันตสุขภาพ จำนวน 35 คน (หมู่ละ 5 คน) แกนนำชุมชนด้านทันตสุขภาพ จำนวน 15 คน รวม 50 คน

2 เพื่อให้ประชาชนตำบลท่าโพธิ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับบริการด้านทันตสุขภาพอย่างครอบคลุม

 

3 เพื่อให้กลุ่มเด็กอายุ 0-12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ

ร้อยละ 70 ของกลุ่มเด็ก อายุ  0-12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช (แบบตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิช)

4 เพื่อสร้างกระแสด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในประชาชนตำบลท่าโพธิ์ลดลง

ร้อยละ 80 ของประชาชนตำบลท่าโพธิ์เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก (การแปรงฟันและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์) (แบบสำรวจการดูแลสุขภาพช่องปาก) อัตราการเกิดโรคฟันผุของประชาชนลดลงจากปีก่อนหน้า (ปี2565) ร้อยละ 3 (แบบสำรวจการเกิดโรคฟันผุ)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 2 มิ.ย. 66 การจัดอบรมสร้างแกนนำ อสม.ทันตสุขภาพและแกนนำชุมชนด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพ 50 4,300.00 4,300.00
3 มิ.ย. 66 - 30 ส.ค. 66 ลงพื้นที่ให้บริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเชิงรุกแก่ประชาชนในชุมชน 750 25,800.00 25,800.00
22 ก.ย. 66 จัดงานมหกรรมทันตสุขภาพ (1 วัน)“คนท่าโพธิ์รวมใจ ใส่ใจสุขภาพช่องปาก 750 36,650.00 36,650.00
รวม 1,550 66,750.00 3 66,750.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดแกนนำทันตสุขภาพที่เข้มแข็งและมีความยั่งยืน
  2. แนวโน้มการเกิดโรคฟันผุของประชาชนลดลงเรื่อย ๆเมื่อเทียบกับระดับตำบล ระดับอำเภอและระดับจังหวัด
  3. เกิดเป็นตำบลต้นแบบด้านการดูแลทันตสุขภาพแบบภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2566 09:18 น.