กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 66-L2972-7(1)-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 19,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟารีฮา เด่นอุดม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.603,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมในยุคปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป มีการดำเนินชีวิตอย่างเร่งรีบ จึงทำให้มีพฤติกรรมต่างๆเปลี่ยนแปลงไป นำไปสู่การเป็นโรคร้ายต่างๆได้ง่าย เช่นโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนไทยในระดับต้นๆในจำนวนโรคไม่ติดต่อ พบว่าโรคความดันดลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะที่สำคัญของร่างกายได้แก่ ระบบหลอดเลือด สมอง หัวใจ อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน เกิดความพิการ หรือสูญเสียอวัยวะที่ทำหน้าที่ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัวและสังคม ในเขตรับผิดรอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแงก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันยังมีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่มาโดยตลอดและได้มีความพยายามในการดำเนินการแก้ปัญหามาและคาดหวังว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่มีความยั่งยืน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด ปัญหาโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานยังคงเป็นโรคเรื้อรังของคนในชุมชน และเป็นโรคที่เรื้อรังกับชุมชนมาช้านาน ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากโรคดังกล่าวเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งพูดได้ว่ามีความยากลำบากอย่างยิ่งในการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมของคน จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในปี 2565 โดยข้อมูลจากผลการคัดกรองภาวะสุขภาพของประชากรอายุ 35 ปีขึ้น ประชากรที่เข้ารับการตรวจคัดกรอง 434 ราย พบว่ามีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง 87 ราย ร้อยละ 20.05 ภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 214 ราย ร้อยละ 41.72 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวชี้ชัดให้ความเสี่ยงด้านสุขภาพของคนในชุมชนที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง เป็นข้อมูลที่น่าเป็นห่วงและไม่แปลกเลยที่โรคเรื้อรังยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในพื้นที่มาโดยตลอด ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแมีความพยายามในการที่จะแก้ปัญหาโดยใช้กลวิธีหรือกระบวนการต่างๆเป็นวิถีมุสลิม วิถีที่สอดคล้องกับชุมชน และเป็นไปตามครรลองของศาสนาจึงได้น้อมนำรูปแบบของการส่งเสริมสุขภาพที่มีต้นแบบมาจากท่านศาสดามูฮัมมัด (ซ.ล.) มาใช้บูรณาการในการดูแลสุขภาพเพื่อควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในปี 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายของโรค

กลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นถึงอันตรายของโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ร้อยละ 50

2 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนตามวิถีมุสลิม

จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการได้เข้าระบบการเฝ้าระวังตนเองตามแนวทางวิถีมุสลิม

3 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปรับพฤติกรรม เพื่อปรับสถานะตนเองอยู่ในกลุ่มปกติ

กลุ่มเสี่ยงปรับสถานะสุขภาพตนเองกลายเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

เป็นการดำเนินกิจกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง และลดการเกิดโรค โดยมีกิจกรรมหลากหลาย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนัก และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ต่อเนื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ต่อเนื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ "โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ Health Belief Model" BANCHEKE PROGRAM เป็นค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่มุ่งเน้นวิธีการที่สอดดคล้องไปตามวิถีความเชื่อของกลุ่มเป้าหมายจริงๆ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนั้นสามารถนำไปสู่การปฎิบัติได้จริง กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความเชื่อมั่นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในที่สุด กลุ่มเสี่ยงไม่ป่วย และกลุ่มป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ให้ความรู้และรณรงค์ในกลุ่มผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการจัดการโรคเรื้อรัง ความรู้เกี่ยวกับโรค แนวทางในการควบคุมและป้องกันโรค และแนวทางในการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เพื่อให้ผู้นำชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เพื่อให้ผู้นำชุมชนเหล่านี้สามารถเป็นกำลังหลักขับเคลื่อนเคียงคู่ อสม.ในการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชนให้มีความยั่งยืน ประเมินผลตามวัตถุประสงค์โครงการ สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถป้องกันตัวเองจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ เกิดเครือข่ายการทำงานในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชนโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากภาคีประชาชนเพื่อให้การแก้ไขปัญหามีความมั่นคงและยั่งยืน และเกิดกระแสของการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องทั้งในกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยงรวมถึงประชาชนทั่วไปอีกด้วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2566 11:22 น.