กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.บ้านคอลอคาลีห่วงใยใส่ใจกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 66-L2972-10(2)-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านคอลอกาลี
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานของชุมชนบ้านคอลอกาลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.603,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้กำหนดให้มีตัวชี้วัดร้อยละการตรวจติดตามกลุ่มสงสัยป่วย โรคความดันโลหิตสูงให้ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน เนื่องจากหลักฐานสนับสนุนว่าการวัดความดันโลหิตที่บ้าน มีส่วนช่วย กระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง และทำให้ควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น ดังนั้น จึงควรใช้ การวัดความดันโลหิตที่บ้านในการช่วยวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยแนะนำให้ไปใช้ เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดพกพา ทำงานอัตโนมัติวัดบริเวณต้นแขนและควรเป็นเครื่องที่ผ่านการรับรองจากสถาบันกำหนด มาตรฐาน ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องชนิดที่วัดบริเวณข้อมือหรือปลายนิ้ว ยกเว้น ในกรณีที่การวัดความดันโลหิตบริเวณต้นแขน ทำได้ลำบาก เช่น ในผู้ป่วยที่อ้วนมาก เป็นต้น และให้ทำการวัดความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคความดันโลหิตสูง กรณีที่ ความดันโลหิต Systolic อยู่ในช่วง 140-159 mmHq และ/หรือ ความดันโลหิต Diastolic อยู่ในช่วง 90-99 mmHq ควรได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านภายใน 3 เดือน และกรณีที่ความดันโลหิต Systolic อยู่ในช่วง 160-179 mmHq และ/หรือ Diastolic อยู่ในช่วง 100-109 mmHq ควรได้รับการวัดความดันดลหิตที่บ้านภายใน 1 เดือน แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ควรแนะนำให้ผู้ป่วยหรือญาติทำการบันทึกค่าความดันโลหิตที่วัดได้เพื่อนำมาให้แพทย์พิจารณาประกอบการรักษา แนะนำให้วัดความดันโลหิต 2 ครั้ง ในแต่ละช่วงเวลา (วัดช่วงเช้า 2 ครั้ง และช่วงเย็น 2 ครั้ง รวมวัดวันละ 4 ครั้ง) เป็นเวลาติดต่อกัน 3-7 วัน จึงทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านคอลอคาลี เล็งเห็นปัญหาในการส่งเสริมสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการอสม.บ้านคอลอคาลี ห่วงใยใส่ใจกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เพื่อส่งเสริมกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับคัดกรองและเยี่ยมติดตาม สร้างให้เกิดการเรียนรู้ และเป็นพี่เลี้ยงอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ให้คำปรึกษา เยี่ยมบ้าน แนะแนวทางต่างๆนำสู่ การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลสมาชิกในครอบครัว สนับสนุนให้แต่ละครอบครัวชุมชนเป็นเจ้าของสุขภาวะของตนเอง นำไปสู่ชุมชนสร้างสุข สุขกาย สุขใจ สุขเงิน ตามที่มุ่งหวังไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 70 ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง

2 2.เพื่อประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 90 กลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง

3 3.เพื่อการดูแล และส่งต่อกลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูง

ร้อยละการตรวจติดตามกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 รวบรวมข้อมูล วางแผน ประสานคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละดือรามัน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายและจำนวนที่ต้องการ 1.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละดือรามัน 1.3 ประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง เพื่อประชุมกำหนดเนื้อหาการบรรยายให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย และซักซ้อมความเข้าใจในการดำเนินงานตามกำหนดการ ขั้นที่ 2 ฃขั้นเตรียมงานตามโครงการ 2.1 ให้คำแนะนำและสอนให้ผู้ป่วยวัดความดันโลหิตที่บ้านด้วยตนเอง 5 ขั้นตอน ดังนี้ (1) คุยความรู้ อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าโรคความดันโลหิตสูง คืออะไร สำคัญอย่างไร ความดันโลหิตตัวบน ตัวล่างคืออะไร ค่าปกติควรเป็นเท่าไหร่ ทำไมต้องวัดความดันโลหิต และทำไมต้องวัดที่บ้านด้วยตนเอง ตัวเลขความดันโลหิตที่บ้านที่ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง คือ 135/85 มิลลิเมตรปรอท และเป้าหมายในการคุมตัวเลขความดันโลหิตที่บ้าน ไม่เกิน 135/85 มิลลิเมตรปรอท (2) ทำให้ดูอธิบายและแสดงส่วนต่างๆ ของเครื่องวัดความดันโลหิต วิธีวัดความดันโลหิตด้วยตนเองตามมาตรฐานและการอ่านผลของค่าความดันโลหิตให้ผู้ป่วยดู การบันทึกผลค่าความดันโลหิต และตอบข้อสงสัยที่ผู้ป่วยถาม (3) ดูทำให้ผู้ป่วยแสดงวิธีวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง การอ่านผล แปลผลและบันทึกค่าความดันโลหิต (4) ทำเองได้ ไม่ต้องดู ผู้ป่วยวัดความดันโลหิตที่บ้านด้วยวิธีที่ได้รับการสอนอย่างน้อย 4 ถึง 7 วันต่อเดือน (5) อยู่ยั่งยืนคือ พยายามสนับสนุนให้ผู้ป่วยวัดความดันโลหิตที่บ้าน และสอนให้บันทึกหรือผลวัดความดันโลหิตมาให้แพทย์ หรือ บุคลากรสาธารณสุขทุกครั้งที่มาโรงพยาบาล 2.2 ติดตามให้ผู้ป่วยวัดความดันโลหิตที่บ้านด้วยตนเอง และสอนให้บันทึกค่าความดันโลหิตตามตารางต่อไปนี้ ตัวอย่างการบันทึก และหาค่าเฉลี่ยค่าความดันโลหิต ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 3.1 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละดือรามัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง 2.เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2566 11:27 น.