กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กรุ่นใหม่ ห่างไกลบุหรี่
รหัสโครงการ 66-L3066-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ากำชำ
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 32,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญยา แวโต
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนูรียะ กะจิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (32,760.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กฎหมายเกี่ยวกับการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะที่มีการห้ามสูบบุหรี่ในห้องอาหาร ในลิฟต์ ในโรงพยาบาล ฯลฯ โดยมีโทษเอาผิดกับทั้งผู้สูบและเจ้าของสถานประกอบการค่อนข้างหนัก ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายในการคุ้มครองผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ จากการถูกคุกคามทางด้านสุขภาพจากควันบุหรี่ของผู้ที่สูบในที่สาธารณะ แต่ถึงแม้จะมีกฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้ออกมาในความจริงกลับปรากฏว่าจำนวนคนสูบบุหรี่ที่เป็นวัยรุ่นกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเพียงแค่ลำพังการออกกฎหมายมากำกับเพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ แต่จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจต่อคนทั่วไปถึงพิษภัยของบุหรี่ และมุ่งเป้าไปในแง่ของการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ยังไม่เคยสูบบุหรี่นั้นเป็นเหยื่อของการโฆษณาบุหรี่และรู้สึกอยากลองสูบจนตกเป็นทาสของบุหรี่ในที่สุด ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญมากคือกลุ่มวัยรุ่น วัยรุ่นติดบุหรี่ด้วยเหตุผลต่าง ๆ หลายอย่าง ส่วนใหญ่เป็นจากสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการมีเพื่อนที่สูบบุหรี่ หรือการที่คนในครอบครัวสูบบุหรี่จะเป็นสิ่งที่ทำให้วัยรุ่นผู้นั้นมีโอกาสสูบบุหรี่ได้มาก บางคนสูบบุหรี่โดยเข้าใจว่าจะทำให้เข้าสังคมเพื่อน ๆ ได้ง่ายขึ้น อย่างน้อยก็เขินเมื่อตอนไม่รู้ว่าจะทำอะไรดีกับมือที่ว่างอยู่ บางคนรู้สึกการสูบบุหรี่ทำให้ดูว่าเขาเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ไม่เป็นเด็กเหมือนก่อน สาววัยรุ่นมักจะเข้าใจว่าการสูบบุหรี่สามารถลดน้ำหนักลงได้ง่ายขึ้น เพราะทั้งมือและปากไม่ว่างที่จะทำให้อาหารได้ บางคนก็สูบบุหรี่เพื่อระบายความเครียดจากปัญหาที่บ้านหรือเรื่องแฟน มีหลายครอบครัวที่ไม่พบว่ามีใครในบ้านสูบบุหรี่เลย แต่มีเฉพาะลูกคนที่เป็นวัยรุ่น เพราะวัยรุ่นหลายรายเลือกการสูบบุหรี่เป็นการแสดงออกเพื่อต่อต้านพ่อแม่ เพื่อต้องการแสดงให้พ่อแม่เห็นว่าตนเองนั้นโตแล้ว และไม่ต้องการให้พ่อแม่มาบังคับเขา เขาโตพอที่จะเลือกตัดสินใจทำอะไรกับตัวของเขาเองแล้ว และต้องการให้ความสำคัญในปัญหาของเด็กและเยาวชนในเรื่องของการสูบบุหรี่ จึงได้มีโครงการเด็กรุ่นใหม่ ไม่เอาบุหรี่ เพื่อเด็กและเยาวชน จะได้รู้เท่าทันและปลอดภัยจากบุหรี่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงภัยบุหรี่/ยาเสพติด

ร้อยละ 90 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงภัยบุหรี่/ยาเสพติดเพิ่มขึ้น

2 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม รู้วิธีการป้องกันตนเองจากพิษภัยของบุหรี่/ยาเสพติด

ร้อยละ 90 ของผู้เข้ารับการอบรม รู้วิธีการป้องกันตนเองจาก พิษภัยของบุหรี่/ยาเสพติดเพิ่มขึ้น

3 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้เกี่ยวกับพิษภัยไปขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชน

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้เกี่ยวกับพิษภัยไปขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 600 32,760.00 0 0.00
13 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 1.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย - อบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของบุหรี่/ยาเสพติด การป้องกันและการแก้ปัญหาของบุหรี่/ยาเสพติด - อบรมการดูแลบุตรหลานในครอบครัวในการแก้ปัญหาบุหรี่/ยาเสพติด 600 32,760.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่มีกลุ่มผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ในเยาวชน นักเรียนในสถานศึกษา
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงภัยบุหรี่/ยาเสพติด
  3. ผู้เข้ารับการอบรมรู้จักวิธีการป้องกันตนเองจากพิษภัยของบุหรี่/ยาเสพติด
  4. ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้เกี่ยวกับพิษภัยไปขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2566 15:39 น.