กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดทำแฟ้มประวัติของผู้สูงอายุที่อยู่ในระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิง
รหัสโครงการ 2560-L3351-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 พฤศจิกายน 2559 - 1 กันยายน 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลโคกชะงาย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้จำนวนและสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มจากร้อยละ 10.7 ในปี 2550 (7.0 ล้านคน) เป็นร้อยละ 11.8 (7.5 ล้านคน) ในปี 2553 และร้อยละ 20.0 (14.5 ล้านคน) ในปี 2568 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2551)นับว่าอัตราการเข้าสู่ “ภาวะประชากรสูงอายุ (Population Ageing)” เร็วมากซึ่งหมายความว่าประเทศไทยมีเวลาสั้นมากที่จะเตรียมการเพื่อรองรับประชากรผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม อายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 พบว่าร้อยละ 69.3 ของประชากรในกลุ่มอายุ 60 - 69 ปี เป็นโรคเรื้อรังและพบเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และเพิ่มขึ้นเป็น 83.3 ในกลุ่มที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไป โดยภาวการณ์เจ็บป่วยโดยเรื้อรัง 6 โรคพร้อมกันถึงร้อยละ 70.8และหนึ่งในสี่ของผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพจากปัญหาสุขภาพเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำกิจกรรม ที่เคยทำได้ ร้อยละ 18.9 มีปัญหาสุขภาพเหล่านี้นานกว่า 6 เดือน เป็นภาวะทุพพลภาพระยะยาว เป็นเหตุให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสูงและต้องการคนดูตลอดเวลา กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานตามกฎหมายและประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. 2548 และดำเนินงานภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 – 2564)เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยและยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุข(ปี 2552–2554) ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างและพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายด้านผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการเชิงบูรณาการสุขภาพผู้สูงอายุ และยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาองค์ความรู้และการศึกษาวิจัยสุขภาพผู้สูงอายุ จากปัญหาผู้สูงอายุขาดผู้ดูแล หรือขาดคนช่วยเหลือจากชุมชน หรือได้รับการดูแลจากผู้ดูแลที่ไม่มีคุณภาพกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2552เรื่องกิจการที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ (ฉบับที่ 6) “การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน” เพื่อพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองได้บ้าง ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง และผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองไม่ได้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการหรือทุพพลภาพ ให้ได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ


จากเหตุผลดังกล่าว ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองพัทลุงจังหวัดพัทลุงจึงจัดทำโครงการจัดทำแฟ้มประวัติของผู้สูงอายุที่อยู่ในระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิง (Folder LTC) เพื่อสำรวจ รวบรวมประวัติของผู้สูงอายุรายบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงเพื่อความสะดวกในการออกเยี่ยมบ้านและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้สูงอายุ LTC ให้มีระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทั้งในสถานบริการสุขภาพและในชุมชน โดยมีผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่นชุมชน และสังคมได้ (ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1 : ติดสังคม) รวมตัวกันเป็นชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งที่จะส่งเสริมสนับสนุน การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค และดูแลผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองได้บ้าง ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง (ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2 : ติดบ้าน) และผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งตนเองไม่ได้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการ หรือทุพพลภาพ (ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 3 : ติดเตียง) ให้เป็นผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้สูงอายุ เพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างเป็นระบบต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.มีที่เก็บรวบรวมประวัติของผู้สูงอายุ LTC
  1. มีที่เก็บแฟ้มประวัติ ผู้สูงอายุ LTCร้อยละ 100
2 รวบรวมประวัติของผู้สูงอายุ LTC และการจัดทำ care plan

ผู้สูงอายุในกลุ่ม LTC มีแฟ้มประวัติรายบุคคลและมีการจัดทำ care plan ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1สำรวจ คัดกรอง ผู้สูงอายุด้วยแบบประเมิน ADL
2.2คัดกรองซ้ำด้วยแบบประเมินTAI 2.3จัดทำประวัติที่เกี่ยวกับงาน LTC เข้าแฟ้ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.1สามารถรวบรวมประวัติของผู้สูงอายุรายบุคคล
1.2ตรวจเยี่ยมบ้านได้ 100 % 1.3สะดวกในการจัดทำ care plan ของ CM /CG 1.4เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้สูงอายุ LTC

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2559 14:07 น.