กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนลดโรค บริโภคผักปลอดภัย
รหัสโครงการ 66 – L7889 -2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการชุมชนตลาดใต้-บ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 30,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายร่าหมาน เบ็ญหล๊ะ ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการชุมชนตลาดใต้ - บ้านกลาง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนตลาดใต้ - บ้านกลาง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล สภาพความเร่งรีบในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคปัจจุบันทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เลือกบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม พร้อมรับประทาน ที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปแทนการทำอาหารกินเอง เพราะทำให้ประหยัดเวลา และมีความสะดวกสบายหาซื้อง่ายแม้ว่าราคาจะค่อนข้างสูงก็ตามแต่ทั้งอาหารและเครื่องดื่มที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปนั้น มักจะมีปริมาณน้ำตาลและผงชูรสที่สูงเกินความจำเป็นของร่างกาย รวมถึงพืชผักที่ปนเปื้อน ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภัยจากการบริโภคตามมา
จากสถิติความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปริกสามอันดับแรกคือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเส้นเลือด (ที่มา ข้อมูลจาก TCNAP เทศบาลตำบลปริก ซึ่งเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลทั้งสิ้นคณะกรรมการชุมชนตลาดใต้ - บ้านกลาง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ“ชุมชนลดโรคบริโภคผักปลอดภัย”ขึ้นเพื่อให้ ความรู้กับประชาชนเรื่องการปลูกผักกินเองการใช้ผักทดแทนน้ำตาลและผงชูรส สร้างสภาพแวดล้อมชุมชนที่เอื้อต่อการ เลือกบริโภคอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดโรครวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องการบริโภคผักทดแทนการบริโภคน้ำตาลและผงชูรส

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน คิดเป็น ร้อยละ 100

2.ผลการทดสอบความรู้ของผู้เข้าอบรมหลังอบรม เพิ่มขึ้นจากก่อนอบรม จำนวน 70 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการหันมาใช้ผักทดแทนน้ำตาลและผงชูรส

1.มีผู้เข้าร่วมโครงการ กลับไปทำอาหารโดยใช้ผักแทนน้ำตาลและผงชูรส จำนวน 50 คน คิดเป็น ร้อยละ 100

2.ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับประทานอาหารลดน้ำตาลและผงชูรส เป็นประจำ จำนวน 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบการเพิ่มเมนูทางเลือกโดยใช้ ผักแทนการใช้น้ำตาลและผงชูรส จำหน่ายแก่ประชาชน

1.ผู้ประกอบการ ที่เข้าร่วมโครงการ เพิ่มเมนูทางเลือกใช้ผักแทนน้ำตาลและผงชูรสจำหน่าย จำนวน 20 ราย คิดเป็น ร้อยละ 100

2.ประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มปลอดน้ำตาลและผงชูรสวัดจากผู้ประกอบการมียอดจำหน่ายเมนูทางเลือกเพิ่มขึ้นภายในสองเดือน จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,750.00 0 0.00
??/??/???? ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบการและผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ และรณรงค์ ลดโรค บริโภคผักแทนน้ำตาลและผงชูรส 0 3,500.00 -
??/??/???? อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการใช้ผักทดแทนน้ำตาลและผงชูรส 0 19,000.00 -
??/??/???? ติดตามผลผู้เข้าร่วมโครงการ 1 ครั้ง หลังการอบรม 2 เดือน 0 500.00 -
??/??/???? ผู้ประกอบการเพิ่มเมนูทางเลือกปลอดน้ำตาลและผงชูรส 0 4,000.00 -
??/??/???? ประชุมถอดบทเรียนจากการดำเนินงานตาม โครงการ 0 3,250.00 -
??/??/???? สรุปผลเป็นรูปเล่มรายงานต่อกองทุนหลักประกัน สุขภาพเทศบาลตำบลปริก 0 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องการบริโภคผักทดแทนการบริโภคน้ำตาลและผงชูรส

2.เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยหันมาบริโภคผักทดแทนน้ำตาลและผงชูรส

3.เกิดเมนูทางเลือกโดยใช้ผักแทนการใช้น้ำตาลและผงชูรสจำหน่ายให้ประชาชนสามารถเลือกบริโภค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2566 14:56 น.