กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L8008-01-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 79,529.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาฮีดา สะกานดา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ก.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 79,529.00
รวมงบประมาณ 79,529.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 24629 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะ เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่สำคัญและนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยมาตลอดจนถึงปัจจุบัน โรคติดต่อโดยแมลง เป็นโรคติดต่อที่สามารถพบการระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และสามารถระบาดได้ตลอดทั้งปี แต่ประเทศไทยแต่มักพบการระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะ โรคติดต่อที่มียุงเป้นพาหะนำโรค เพราะการที่มีฝนตกชุกทำให้ยุงลายมีแหล่งสำหรับเพาะพันธุ์มากขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่มียุงเป้นพาหะเพิ่มมากขึ้น เช่น ไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย โรคชิคุนกุนยา เป็นต้น ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสตูลเองก็เป็นหนึ่งในหลายๆพื้นที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยแมลงที่มียุงเป็นพาหะนำโรค จากข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ได้รายงานสถานการณ์โรคติดต่อโดยแมลง ที่มียุงเป้นพาหะนำโรค อย่างโรคไข้เลือดออกในจังหวัดสตูล ช่วงปี 2566พบว่าจังหวัดสตูล พื้นที่ตำบลพิมาน ยังมีอัตราป่วยสะสมของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยพบผู้ป่วยไข้เลือดออก 24ราย (อัตราป่วย 80.2 ต่อประชากรแสนคน) โดยพบเพศชาย 7 ราย เพศหญิง 17 ราย โดยชุมชนที่พบผู่ป่วยมากที่สุด คือ
ชุมชนเทศบาล 4 ชุมชนปานชูรำลึก ชุมชนซอยปลาเค็ม ตามลำดับ (ที่มา : งานระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูล ข้อมูล ระหว่างวันที่ 1-22 พฤษภาคม 2566)
ด้วยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล มีหน้าที่ดำเนินการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50 (4) และตระหนักถึงอันตรายของการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยแมลง โดยเฉพาะโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรคนั้น งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายบริการงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล จึงขอเสนอโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโดยแมลง ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อดำเนินการป้องกันและระงับโรคติดต่อโดยแมลงในเขตเทศบาลเมืองสตูลของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และทันต่อเหตุการณ์ ตลอดจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด
แก่ประชาชน อีกทั้งเพื่อเป็นอีกหนึ่งแกนนำหลักในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยแมลงในพื้นที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องต่อ780.2

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโดยแมลงในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล

จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก หรือเข้าข่ายสงสัย มีแนวโน้มลดลง

0.00 0.00
2 ส่งเสริมกิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลพิมาน

ร้อยละ 100 ของชุมชน มีค่าHIน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10

0.00 100.00
3 เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ และความชำนาญให้แก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโดยแมลง

เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความชำนาญนการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโดยแมลงมากขึ้น ร้อย 90

80.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 79,529.00 0 0.00
3 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโดยแมลง ด้วยการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและวัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ 0 24,400.00 -
3 ก.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมรรรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายและฉีดพ่นหมอกควัน เพื่อกำจัดยุงลายในชุมชนเขตเทศบาลเมืองสตูล (จำนวน 20 ชุมชน) 0 49,704.00 -
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโดยแมลง 0 5,425.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับการทบทวนความรู้ความเข้าใจทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 2.แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนพื้นที่รับผิดชอบลดลง 3.อัตราการป่วยจากโรคไข้เลือดออกลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566 00:00 น.