กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนโฆษิตห่างไกลโรคติดต่อ ปี2566
รหัสโครงการ 66-L2482-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดาราวัลย์ บั้นบูรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นจากตัวเชื้อโรคเองหรื้อพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยดดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่าโรคติดต่อเชื้อแทนคำว่า โรคติดต่อ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็จะทำให้เกิด โรคติดต่อสามารถป้องกันได้ หรือลดความรุนแรงได้ด้วยวิธีการป้องกันควบคุมโรคอย่างเป็นระบบ ถูกวิธี รวดเร็ว และด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โรคติดต่อมีความสำคัญ เพราะนอกทำให้เจ็บป่วยเสียชีวิตแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง ในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินจำนวนมากเช่น โรคไขเลือดออก ไข้ปอดข้อยุงลาย ไข้มาลาเรีย โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอุจาระร่วง วัณโรค และโรคอื่นที่อุบัติใหม่ ฯลฯ เป็นต้น ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคติดต่อ จากการวิเคราะหืสถานการณ์ดรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง จากขัอมูล รง. 506 และรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ของงานระบาดวิทยา พบว่าโรคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ โรคโควิด-19 โรคตาแดง และโรคไขเลือดออก ตามลำดับ โดยโรค โควิด-19 มีอัตราผู้ป่วย จำนวน 51 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 572.05 ต่อแสนประชากรและโรคที่เป็นปัญหารองลงมา คือโรคตาแดง พบผู้ป่วยจำนวน 48 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 1,307.51 ต่อแสนประชากร และโรคไขเลือดออก จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 81.71 ต่อแสนประชากร
จากสภาพปัญหาดังกล่าว กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา ได้เห็นความสำคัญที่จะลดปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการคนโฆษิตห่างไกลโรคติดต่อ ปี 2566 ขึ้น เพื่อให้การดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ 2.เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน 3.เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ

1.สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้ร้อยละ 50 2.สามารถสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้ร้อยละ 50 3.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการรองรับและควบคุมโรคติดต่อร้อยละ 50

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 อบรมให้ความรู้(1 ม.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00                  
รวม 0.00
1 อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

1.ประสานงานกับหน่วยงานที่ร่วมกันวางแผนดำเนินการ 2.จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต.โฆษิต 3.จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อประจำถิ่น (โรคไข้เลือดออก,วัณโรคปอด,ไข้ปวดข้อยุงลาย,โรคเรื้อ) 4.ลงพื้นที่ประชาสัมพันะ์ให้ประชาชนทราบถึงวิธีป้องกัน และปฏิบัติตัวเมื่อเกิดโรค 5.เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นมาให้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการระงับ และป้องกันการแพร่ระบาดสู่คนอื่นด้วยวิธีต่างๆ 6.ประเมินผลการดำเนินงาน 7.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้ 2.สามารถสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน 3.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566 11:25 น.