กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมการใช้สมุนไพรไทยสาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L-2482-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 14,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยามีล๊ะ อารง ,นางซีตียูวารีเย๊าะ ดือรามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 14,400.00
รวมงบประมาณ 14,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เป้นหนึ่งในภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมา ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ระบุถึงการใช้พืชพรรณสมุนไพรตั้งแต่สมัยพุทธการ การนำสมุนไพรมาใช้ได้ทั้งในแง่การนำมารับประทานอาหาร เช่น การับประทานพืชผัก หรือนำมาประกอบเป็นอาหาร นอกจากนั้นยังนำมาใช้เป็นยารักษาโรคเวลาเกิดการเจ็บป่วย การใช้ลูกประคบสมุนไพรก็เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาไทยที่คนไทยเรานำมาใช้กันตั้งแต่รู่นปู่ย่าของเรา บางท่านเคยมีประสบการณ์การใช้ลูกประคบสมุนไพรอยู่บ้าง แต่หลายท่านอาจจะไม่ทราบถึงรายละเอียดในเรื่องผลการรักษา วิธีใช้ อาการที่เหมาะกับการใช้ลูกประคบสมุนไพรลูกประคบสมุนไพรเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราน เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่างๆ มาใช้ประโยชน์ ในการคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย ลูกประคบมีพืชสมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก อย่างน้อย 3 ชนิด ได้แก่ ไพล ขมิ้นชันและตะไคร้ อาจผสมสมุนไพรชนิดอื่นๆ เช่น ผิวมะกรูด ใบมะขาม การบูร พิมเสน ลูกประคบสมุนไพรมีอยุ่ด้วยกันหลายสูตรทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับแต่ละภูมิภาคของประเทศ ซึ่งจะใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆเป็นส่วนประกอบ การทำลูกประคบสมุนไพรแบบแห้ง โดยนำสมุนไพรมาทำความสะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้แห้งโดยการอบหรือตากแดด และห่อสมุนไพรแห้งด้วยผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย แลัวมัดให้แน่นเป็นลูกกลมๆ การฝึกอบรมและพัมนาอาชีพของกลุ่มสตรี ตำบลโฆษิต อย่างต่อเนื่องนั้น นับได้ว่าเป้นสิ่งสำคัย ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน และปัจจุบันประชาชนโดยส่วนใหญ่นั้นให้การดุแลเอาใจใส่ทางด้านสุขภาพมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา จึงได้จัดทำโครงการอบรมการใช้สมุนไพรไทยสาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร ปี 2566 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให่ประชาชนมีความรู้ เห็นคุณค่าของสมุนไพรที่มีใช้ในครัวเรือนและประโยชน์ทางยา ของสมุนไพรต่างๆ มาประยุกต์ใช้ ส่งเสริม อนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาไทยต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้สมุนไพรและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2.เพื่อเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาไทย

1.ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจการใช้สมุนไพรไทย 2.ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายสามารถทำลูกประคบใช้เองได้

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 อบรมให้ความรู้(1 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00              
รวม 0.00
1 อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

1.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ 2.จัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงาน 3.จัดการประชาสัมพันธ์ในกลุ่ม อสม. ทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ 4.เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการอบรมการใช้สมุนไพรไทยและการทำลูกประคบสมุนไพรไทย โดยมีวิทยากรเป็นแพทย์แผนไทยมาอบรม 5.ประสานกับพื้นที่ เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานอบรมการใช้สมุนไพรไทย 6.ดำเนินการอบรมการใช้สมุนไพรไทยและการทำลูกประคบสมุนไพรไทย ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย 7.อสม. ทำการผลิตลูกประคบสมุนไพรนำไปใช้เพื่อเป็นการขยายตลาด และประชาสัมพันธ์การใช้ยาสมุนไพรในชุมชน 8.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน 9.ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน/โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้สมุนไพรและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2.ประชาชนเป็นแก่นนำ ส่งเสริมอนุรักษ์การใช้ยาสมุนไพร และสืบสานภูมิปัญญาไทนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566 11:51 น.