กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L1485-1-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 8 กันยายน 2566
งบประมาณ 16,056.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรารัตน์ เดชอรัญ นักวิชาการสาธารณสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ของประเทศไทยและประเทศ ในแถบเอเชีย มาช้านาน เนื่องจากโรคนี้มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณที่มีแหล่งน้ำขัง มีแนวโน้ม การระบาดสูงในช่วงฤดูฝน และมีความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้ ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ ทำให้เกิด ผลเสียต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เนื่องจากรัฐฯจะต้องเข้ามาบริหารจัดการ ทั้งในด้านการควบคุมป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลเมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้น ซึ่งในแต่ละปี ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณไปกับการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก
จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 2 พฤศจิกายน 2565 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 33,361 ราย อัตราป่วย 50.42 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 26 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.07 จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยจำนวน 187 ราย อัตราป่วย 29.23 ต่อแสนประชากร ในระดับอำเภอปะเหลียน มีผู้ป่วยจำนวน 101 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 159.57 ต่อแสนประชากร ตำบลที่อัตราป่วยสูงสุดคือตำบลลิพัง รองลงมาคือตำบลทุ่งยาว และรองลงมาคือตำบลปะเหลียน ซึ่งเขตรับผิดชอบของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลปะเหลียนก็อยู่ในตำบลปะเหลียน จากข้อมูลในปี 2563 พบผู้ป่วยจำนวน 11 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 292.31 ต่อแสนประชากร ปี 2564 พบจำนวนผู้ป่วยจำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 53.14 ต่อแสนประชากร และปี 2565 พบผู้ป่วยจำนวน 3 รายคิดเป็นอัตราป่วย 78.98 ต่อแสนประชากร ซึ่งพบว่าอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงเกินค่า 50 ต่อแสนประชากรทุกปี และสูงกว่าในระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอเมื่อนำมาเทียบกัน และในปี 2563 พบผู้ป่วยใน Generration ที่ 2 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียนอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ประสบผลสำเร็จ และ เกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่าย  ที่เกี่ยวข้อง ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน ได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการประชาร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก ประจำปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

2 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกัน โรคไข้เลือดออก

 

3 3. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 ประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียนเพื่อจัดทำโครงการ 1.2 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ
  2. ขั้นดำเนินการ
    2.1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่าย เพื่อรับทราบสถานการณ์โรคและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน 2.2 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน เพื่อร่วมวางแผนดำเนินการ
    2.3 ประชาสัมพันธ์โครงการ แจ้งผู้นำชุมชน โรงเรียน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 2.4 อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัว และอสม. นักเรียน ให้ความรู้โรคไข้เลือดออก 2.5 กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับแกนนำครอบครัว อสม. นักเรียน ทั้งในโรงเรียน และชุมชน
    2.6 แกนนำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอสม.ในเขตรับผิดชอบ
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ


    กิจกรรมในหมู่บ้าน

  4. ประชุมชี้แจงขอความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการกับ อสม. ผู้นำชุมชน   และประชาชน
    ๒. จัดตั้งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
    ๓. จัดตั้งทีมปฏิบัติงานเคลื่อนที่เร็ว(ทีม SRRT) ในหมู่บ้าน
    ๔. อบรมให้ความรู้แก่ อสม.คณะทำงานควบคุมป้องกันโรคและประชาชนเรื่องการป้องกันโรค   ไข้เลือดออก ๕. อสม. ประชาชน สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน (ทุกวันศุกร์ ) ทุก   ครัวเรือน
    ๖. ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน สัปดาห์ละ1 ครั้ง
    ๗. จัดเดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยมี เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ผู้นำชุมชน
      และประชาชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีแกนนำสุขภาพ ในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
    1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
    2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ  ลดลง ≥ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง5ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2566 09:55 น.