กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในท้องถิ่น ประจำปี 256๖
รหัสโครงการ 03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านลำสินธุ์
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 พฤษภาคม 2566 - 11 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิเชษฐ์ เขียดนิล
พี่เลี้ยงโครงการ นางพัชรี น้อยเต็ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
12.12
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
80.23

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่อในระดับประเทศยังมีการแพร่ระบาดของโรคและมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการระบาดของโรคติดต่อในท้องถิ่น ที่มักพบและเกิดขึ้นบ่อยในชุมชน โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการเกิดโรค เช่น พฤติกรรมของประชาชนสภาพแวดล้อมแหล่งรังโรค ซึ่งในปัจจุบันสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เหมาะแก่การแพร่ระบาดของติดต่อได้เป็นอย่างดี เช่น โรคไข้เลือดออก, โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า, โรคฉี่หนู, โรคไข้หวัดใหญ่, โรคไข้หวัดนก, โรคตาแดง, โรคมือ เท้า ปาก,โรคพิษสุนัขบ้า,และโดยเฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19)ที่ยังมีการระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น และอาจก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่ขึ้นได้อีกด้วยเช่นกัน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์ จึงให้ความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา19 (COVID-19)ที่มีการวิวัฒนาการของโรคโดยการเน้นมาตรการ DMHTT เว้นระยะห่าง ย้ำให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือรักษาความสะอาด การใช้ช้อนกลางส่วนตัว เฝ้าระวังประชาชนเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงและตรวจทันทีที่สงสัยงดการเดินทางไปแหล่งเสี่ยงหรือที่ชุมชนแออัด เพื่อประชาชนปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) และเป็นการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

12.12 7.83
2 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

80.23 90.53
3 เพื่อรณรงค์การป้องกันและการเฝ้าระวังควบคุมโรคระบาดในท้องถิ่น ก่อนเกิดโรค ขณะเกิดโรค และหลังเกิดโรค

สามารถควบคุมสถานการณ์ของโรคระบาดในท้องถิ่นได้ทันสถานการณ์ อย่างน้อยร้อยละ  80

68.23 80.00
4 เพื่อพัฒนาทีมเฝ้าระวังการปฏิบัติงานเคลื่อนที่เร็ว SRRT. อสม. ในระดับตำบลให้มีความรู้ด้านวิชาการ และมีทักษะ มีความชำนาญในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ทีมเฝ้าระวังการปฏิบัติงานเคลื่อนที่เร็ว SRRT. อสม. ในระดับตำบลให้มีความรู้ด้านวิชาการ และมีทักษะ มีความชำนาญในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

70.23 80.56
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
8 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ทีม SRRT. อสม. ในตำบลลำสินธุ์ 0 7,500.00 -
11 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มประชาชนทั่วไป ในตำบลลำสินธุ์ 0 7,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทีม SRRT. อสม.ในตำบลลำสินธุ์ ว่ามีความรู้ มีทักษะ สามารถนำไปปฏิบัติงานในหน้าที่ได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

2.ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายและในพื้นที่ ว่ามีระดับความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตนในการป้องและควบคุมโรคระบาดในท้องถิ่นได้ถูกต้อง และต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2566 00:00 น.