กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนักเรียนวัยใส อนามัยดี ไม่มีเหา
รหัสโครงการ L1526
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านเขากอบ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,891.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกนกนุช โตสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.798,99.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 79 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหาเป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กนักเรียนหญิงตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษา ซึ่งการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะ ทั้งนี้เหาเป็นแมลง ขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะ และดูดเลือดเป็นอาหาร โดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและประถมศึกษา เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียนคือ ต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ   ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ทางโรงเรียนบ้านเขากอบได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดเหาของนักเรียน จึงสำรวจได้ว่านักเรียนหญิงเป็นเหามีจำนวน 79 คน จึงได้จัดทำโครงการเพื่อกำจัดเหาให้กับนักเรียน โดยมุ่งหวังให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องเหาและสามารถดูแล รักษาความสะอาดร่างกายของตนเองได้ถูกต้อง 2. เพื่อลดอัตราการเกิดเหาในเด็กวัยเรียน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ นักเรียนร้อยละ 80 เป็นเหาลดลง 1. นักเรียนไม่มีเหา 100%

  1. อัตราการเกิดเหาในวัยเรียนลดลง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 .1 กิจกรรมย่อยนักเรียนวัยใส อนามัยดี ไม่มีเหา(15 ธ.ค. 2565-30 ก.ย. 2566) 14,879.00                    
รวม 14,879.00
1 .1 กิจกรรมย่อยนักเรียนวัยใส อนามัยดี ไม่มีเหา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 79 14,879.00 0 0.00
15 ธ.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 โครงการนักเรียนวัยใส อนามัยดี ไม่มีเหา 79 14,879.00 -

1.1 กิจกรรมย่อยนักเรียนวัยใส อนามัยดี ไม่มีเหา - ค่าอุปกรณ์  15 ธ.ค.65ถึง30 ก.ย.66   - ค่าแชมพูกำจัดเหาพร้อมหวี ขนาด 60 ml ขวดละ70 บาท × 79 คน = 5,530 บาท   - ค่าแชมพูสระผม ขนาด 5 ml ซองละ 2 บาท ×79 คน × 3 ซอง = 474 บาท   - ค่าผ้าขนหนู ขนาด 15×30 นิ้ว ผืนละ 35 บาท × 79 ผืน = 2,765 บาท   - ค่ากะละมัง ชุดละ 40 บาท × 79 ใบ = 3,160 บาท   - ค่าหมวกอาบน้ำ ใบละ 10 บาท × 79 ใบ = 790 บาท   - ค่าเครื่องหนีบผมสำหรับหนีบไข่เหา เครื่องละ 450 บาท × 2 เครื่อง = 900 บาท   - ค่าไวนิล จำนวน 1 แผ่น×360 บาท = 360 บาท   - ค่าวัสดุจัดทำสื่อให้ความรู้และรณรงค์การป้องกัน เหา = 900 บาท         รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,879 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เรื่องเหาและสามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายตนเองได้ถูกต้อง
  2. ลดอัตราการเกิดเหาในเด็กวัยเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2566 14:01 น.