กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ในตลาดนัดน่าซื้อ
รหัสโครงการ 66-L1485-1-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 8 กันยายน 2566
งบประมาณ 8,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัชธีญา ชัยสิทธิ์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เป็นต้นมา ได้มีการพัฒนานโยบายสาธารณสุขที่เน้นในการให้บริการรักษาพยาบาล โดยมีการขยายบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ จนกระทั่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12 ที่ผ่านมาที่มีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางสุขภาพ ทั้งด้านการการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค รักษาพยาบาลการฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายการพัฒนาให้ได้มาตรฐานเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยกำหนดยุทธศาสตร์นโยบายและแผนเพื่อให้มีการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการดูแลสุขภาพ คนไทยตื่นตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย การดูแลด้านอาหารและโภชนาการ การดูแลจัดการบริหารจิตและอารมณ์ การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อลดโรคและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ภาวะอ้วนลงพุงและมะเร็ง เป็นต้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕60 เป็นต้นมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน ได้ดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคกิจกรรมต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การเฝ้าระวังสิ่งปลอมปนในอาหารสด การเฝ้าระวังอาหารทอดซ้ำ การสำรวจร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารและประเมินคุณภาพ การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน พบว่าผู้ประกอบการแต่ละกิจกรรมมีคุณภาพโดยรวมในระดับหนึ่งที่สามารพัฒนาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยเพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้กับประชาชนในชุมชนได้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง สารปรุงแต่งอาหาร วัตถุมีพิษที่ใช้ในครัวเรือน แผงลอยจำหน่ายอาหาร เป็นต้น ซึ่งแหล่งผลิตและการประกอบการเหล่านี้เป็นที่มาของอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนนำมาสู่การบริโภคในครัวเรือนที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ขาดความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีคุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการอบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ในตลาดนัดน่าซื้อ ขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในตลาดนัดน่าซื้อให้ได้ตามเกณฑ์คุณภาพรับรอง เป็นแหล่งอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย อันจะส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในตลาดนัดน่าซื้อ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร

 

2 2. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในตลาดนัดน่าซื้อ สามารถพัฒนาร้านให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาล

 

3 3. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในตลาดนัดน่าซื้อ ได้รับการตรวจสอบ/ประเมินติดตาม และเฝ้าระวัง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 จัดทำแนวทางการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค 1.2 สำรวจผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร 1.3 ประชุมคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน 1.4 เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนันสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
  2. ขั้นดำเนินการ
    2.1 ประชุมคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค บุคลากรสาธารณสุข อสม. และแกนนำ ชุมชน 2.2 อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และคณะทำงาน
    2.3 ติดตามพัฒนาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร มีความรู้ สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง สมประโยชน์ และปลอดภัย
    1. หมู่บ้าน/ชุมชน มีร้านอาหาร และผู้ประกอบการด้านอาหารได้ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่รับรอง ครอบคลุมและเป็นรูปธรรม
    2. ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ประเมินติดตาม/ตรวจสอบตามกฎหมาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2566 14:19 น.