กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองให้ความรู้แก่เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยลดโรค
รหัสโครงการ 66-L1485-1-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 8 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจรัลรัตน์ อัครนันท์บุญธนา ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ถูกนำมาใช้อย่างมากมายซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งตัวเกษตรกรผู้ใช้ และยังตกค้างในผลิตผลการเกษตร เช่นพืชผัก หรือแม้แต่สัตว์น้ำจึงทำให้ประชาชนผู้บริโภคทุกคนมีโอกาสได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งนำไปสู่การมีสุขภาพที่อ่อนแอจนถึงเกิดโรคมากมายเช่น เหน็บชา โลหิตจาง แพ้พิษสารเคมี หรือมะเร็ง ปัจจุบันการตรวจคัดกรอง ค้นหาภาวะเสี่ยงเบื้องต้น มีเทคโนโลยีที่ง่ายและราคาถูก รวมถึงผู้ที่มีภาวะเสี่ยงก็สามารถส่งเสริมสุขภาพได้ทั้งการให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้สมุนไพรไทยล้างพิษ อันจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพประชาชนเพื่อลดโรคร้ายแรงที่จะเกิดตามมา จากการเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลผลการตรวจเลือดประชาชนกลุ่มเสี่ยง ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน ตั้งแต่ปี ๒๕๕8 ถึง ๒๕60 พบว่า มีประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยง อยู่ระหว่างร้อยละ 2๐.00 – 38.๙2 และในปี ๒๕60 มีแนวโน้มจะสูงขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ จังหวัดตรังได้ส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยรางจืดเพื่อส่งเสริมสุขภาพและลดภาวะเสี่ยง ซึ่งจากข้อมูลพบว่าวิธีดังกล่าวได้ผลดี โดยทำให้กลุ่มเสี่ยงกลับไปเป็นกลุ่มปกติ ถึงร้อยละ ๙6.55 จังหวัดตรังได้กำหนดยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อรองปัญหาสุภาพตามกลุ่มวัย ซึ่งกลุ่มหนึ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพคือกลุ่มวัยแรงงาน เนื่องจากกลุ่มนี้คือกำลังหลักของสังคมที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและดูแลสถาบันครอบครัว       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงสุขภาพประชาชน จากภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และส่งเสริมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรค ด้วยสมุนไพรรางจืดขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อ ให้เกษตรกรและประชาชนผู้บริโภค ได้รับการเจาะเลือด ตรวจคัดกรอง ค้นหาระดับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตกค้างในร่างกายโดยวิธี Reactive Paper test

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการเจาะเลือด ตรวจคัดกรอง ค้นหาระดับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตกค้างในร่างกายโดยวิธี  Reactive Paper test

2 2. เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและความสูญเสียจากปัจจัยเสี่ยงทางกายและจิต
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกคน ที่ตรวจพบภาวะเสี่ยง ในระดับ มีความเสี่ยง และระดับไม่ปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรรางจืด
3 3. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องสมุนไพรรางจืดมากขึ้น และสามารถใช้บริโภค ลดความเสี่ยงโรคที่เกิดจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องสมุนไพรรางจืด และสามารถใช้บริโภค ลดความเสี่ยงโรคที่เกิดจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง-ร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ       1.จัดเตรียมข้อมูล       2.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรและบุคลากร และงบประมาณเพื่อ         - ประชุมชี้แจงโครงการ         - จัดหาวัสดุชุดเจาะเลือดตรวจคัดกรอง และแบบคัดกรอง         - จัดหาสมุนไพรรางจืด     ขั้นดำเนินการ       1.จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และสื่อสารประชาชนสร้างการรับรู้ผ่านสื่อ       2.จัดกิจกรรมตรวจคัดกรอง         - สัมภาษณ์คัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้น         - เจาะเลือดคัดกรองความเสี่ยง
      3.อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายทุกคน       4.ส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงทุกรายด้วยสมุนไพรรางจืด       5.เจาะเลือดซ้ำ กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรรางจืดต่อเนื่อง 10 วัน       6.จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้การใช้สมุนไพรรางจืดแก่กลุ่มเป้าหมาย     ขั้นประเมินผลและสรุปรายงาน       1.เจ้าหน้าที่ประชุมสรุปผลโครงการ       2.รายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงและกลุ่มที่พบผลผิดปกติ ได้รับสมุนไพรรางจืดเพื่อล้างพิษ
    1. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรม มีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2566 14:53 น.