กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตเเละโรคเบาหวาน ปี 2566 รพ.สต.บ้านตะเหลี่ยง
รหัสโครงการ 66-L2481-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 42,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรดา เจ๊ะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน แต่ความชุกเเละอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองเเละชนบทอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทกรซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจจะหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือเเตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ การรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มาก กว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์ตรวจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนด้วยเหตุที่โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การใช้ยาเบาหวาน การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกับคนปกติและสมารถป้องกันภาวะแทกรซ้อนต่างๆ ได้ยืนยาวและมีความสุข   จากผลการตรวจคัดกรองสุขภาพ ปี 2566 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง ประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับดารตรวจคัดกรองโรตความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 1,128 ร้อยละ 95.59 พบประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ร้อยละ 31.00 และเสี่ยงความดันโลหิตสูง ร้อยละ 23.20 จากการทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤกรรม ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมภาวะสุขภาพ ได้ดีขึ้น โดยพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีการคุมน้ำตาลได้ดีขึ้นร้อยละ 35.17 และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูง ร้อยละ 48.00 ด้วยเหตุผลดั่งกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤกรรมกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี 2566 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตมีความรู้และพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ในเรื่อง 3 อ. 2 ส. และไม่เกิดกลุ่มป่วย และใก้ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูเเลตนเองขณะป่วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตมีความรู้และพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ในเรื่อง 3 อ. 2 ส.และไม่เกิดกลุ่มป่วย

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรค

กลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมภาวะสุขภาพให้ดีขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 42,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 1.จัดนิทรรศการให้ความรู้ เพื่อกระตุ้นให้เจ้าของสุขภาพ ญาติ ภาคีสุขภาพในชุมชนร่วมในการดูแลสุขภาวะชุมชน 140 42,000.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บุคคลต้นเเบบที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ความดันดลหิตสูง เบาหวานลดลง 0 0.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 นัดกลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิตสูงได้ ทำกิจกรรมและตรวจคัดกรองทุกๆ 1 เดือนครั้ง (ติดต่อ 3 เดือน) 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง 2.อัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังรายใหม่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2566 09:30 น.