กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก


“ โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบือแซง ”



หัวหน้าโครงการ
นายมุกตาร์ มายิ

ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบือแซง

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 26

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบือแซง จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบือแซง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบือแซง " ดำเนินการในพื้นที่ รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 26,720.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันนี้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการจมน้ำในเด็กปฐมวัยมีจำนวนมาก กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า6 ปีที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ มักเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมการจมน้ำ นับเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในเด็กปฐมวัยสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากระดับพัฒนาการของเด็กเอง เช่นเป็นวัยที่ชอบสำรวจวิ่งเล่น แต่ความสามารถในการทรงตัวยังไม่ค่อยดีนัก พลัดตกหกล้มได้ง่ายส่วนความเสี่ยงอื่นๆเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น บ้านอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่ไม่มีรั้วกั้นอย่างถูกต้องผู้ดูแลไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงหรือผู้ดูแลต้องดูแลเด็กหลายคนในเวลาเดียวกันแม้กระทั่งในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ถึงแม้จะไม่มีทะเล แม่น้ำ แหล่งน้ำตามธรรมชาติก็ตาม ยังมีเหตุการณ์เกิดจากการจมน้ำแต่อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการจมน้ำมักเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ การจัดให้มีพื้นที่เล่นที่เหมาะสมให้แก่เด็ก และการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครู ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และเด็กปฐมวัย การสอนให้เด็กใช้ชูชีพเมื่อต้องเดินทางน้ำ สอนการเลี้ยงตัวเมื่อตกน้ำ เพื่อให้โผล่พ้นน้ำชั่วขณะ และสอนให้ว่ายน้ำระยะสั้นๆเพื่อให้ตะกายเข้าฝั่งได้การช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้การจมน้ำ ฝึกทักษะการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบือแซงสังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสะเตงนอก ได้เห็นถึงความจำเป็นในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการบรรจุเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย ไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กได้สอนให้เด็ก ซึ่งครูและผู้ปกครองถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องมีความรู้ ในการดูแลและสอนบุตรหลาน ให้รู้จักการช่วยเหลือตนเอง และหากเด็กจมน้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจในการกู้ชีพหรือปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบือแซงจึงได้จัดทำ “โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ” เพื่อฝึกทักษะเสริมประสบการณ์การว่ายน้ำและเล่นน้ำอย่างปลอดภัยให้กับเด็กปฐมวัย และการอบรมให้ความรู้ ป้องกัน และการช่วยเหลือที่ถูกต้อง หากพบเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ให้กับครูและผู้ปกครอง ขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2566

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อจัดกิจกรรมฝึกอบรมและปฏิบัติให้ความรู้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ
  2. เพื่อให้เห็นผู้ปกครองเห็นความสำคัญของประเด็นปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
  3. เพื่อสร้างทักษะให้กับเด็กในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้
  2. สาธิตการฝึกทักษะช่วยเหลือตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 55
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ผู้ปกครอง นักเรียน และบุคลากรในสถานศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ 2) ผู้ปกครองสามารถเห็นความสำคัญของประเด็นปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ 3) เด็กนักเรียนได้รับทักษะในการช่วยเหลือตนเองสามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมให้ความรู้

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงกิจกรรมและมอบหมายภาระงาน 2.จัดอบรมให้ความรู้โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก นักเรียน เข้าใจเกี่ยวกับการป้องกัน การช่วยเหลือที่ถูกต้อง หากพบเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ให้กับครูและผู้ปกครอง ในภาคทฤษฎีอย่างถูกวิธีให้กับครู นักเรียนและผู้ปกครอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้ปกครอง นักเรียนและบุคลากร ในสถานศึกษาได้รับความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกันจมน้ำ 2.ผู้ปกครองสามารถเห็นความสำคัญของประเด็นปัญหาเด็กเสียวชีวิตจากการจมน้ำ 3.เด็กนักเรียนได้รับทักษะในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก สามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้

 

0 0

2. สาธิตการฝึกทักษะช่วยเหลือตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดอบรมให้ความรู้โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก นักเรียน เข้าใจเกี่ยวกับการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น จากการจมน้ำได้อย่างปลอดภัย 2.การใช้เสื้อชูชีพในการลอยตัวในน้ำ สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างถูกวิธี 3.ภาคปฏิบัติ (ทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้ปกครอง นักเรียนและบุคลากร ในสถานศึกษาได้รับความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกันจมน้ำ 2.ผู้ปกครองสามารถเห็นความสำคัญของประเด็นปัญหาเด็กเสียวชีวิตจากการจมน้ำ 3.เด็กนักเรียนได้รับทักษะในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก สามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อจัดกิจกรรมฝึกอบรมและปฏิบัติให้ความรู้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อให้เห็นผู้ปกครองเห็นความสำคัญของประเด็นปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
ตัวชี้วัด :
0.00

 

3 เพื่อสร้างทักษะให้กับเด็กในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 55
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 55
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อจัดกิจกรรมฝึกอบรมและปฏิบัติให้ความรู้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ (2) เพื่อให้เห็นผู้ปกครองเห็นความสำคัญของประเด็นปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ (3) เพื่อสร้างทักษะให้กับเด็กในการช่วยเหลือตนเอง  สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้ (2) สาธิตการฝึกทักษะช่วยเหลือตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบือแซง จังหวัด

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายมุกตาร์ มายิ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด