โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มเด็กประถม ฟันสวย ยิ้มใส ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มเด็กประถม ฟันสวย ยิ้มใส ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
รหัสโครงการ | 66-L5235-2-17 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เครือข่ายสุขภาพตำบลคลองรี |
วันที่อนุมัติ | 10 มีนาคม 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 14,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายประภาส ขำมาก |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายศุภชัย เผือกผ่อง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.542,100.388place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศชาติ ในการที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง เด็กทุกคนควรได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัวชุมชนและภาครัฐ เพื่อส่งเสริมให้เด็กๆเหล่านั้นได้รับการศึกษา ที่รัฐจัดให้ได้รับการพัฒนาทั้งในด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด ด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีความทันสมัยทำให้เด็กในยุคนี้เป็นเด็กที่ติดกับการบริโภคนิยมทั้งทางด้านวัตถุ สิ่งของ อาหาร ในปัจจุบันเด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ เมื่อเด็กทานอาหารเหล่านี้เข้าไปจะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุตามมา ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงอนุบาลและประถมเป็นส่วนมาก การที่จะปลูกฝังให้เด็กรักการดูแลสุขภาพช่องปาก และแปรงฟันนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ปัญหาฟันผุ และโรคในช่องปากลดน้อยลง
ปัจจุบันสาเหตุของการเกิดโรคฟันผุในเด็กที่อยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมทำให้เกิดช่องว่างในการเข้าถึงการรับบริการสาธารณสุข ปัจจัยทางด้านชีววิทยา ปัจจัยด้านพฤติกรรม ปัจจัยทางด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากรอยโรคฟันผุสามารถตรวจพบได้ในเด็กเล็กและเด็กที่มีฟันเริ่มขึ้นในช่องปาก ปัจจัยของการเกิดโรคเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดู เช่น อาหารที่เด็กรับประทาน พฤติกรรมการทำความสะอาดช่อง ปัจจัยต่างๆเหล่านั้นเป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดโรคฟันผุในเด็ก ผลเสียที่เกิดขึ้นเมื่อฟันผุ เด็กจะมีอาการเกิดความเจ็บปวดจากการเคี้ยวอาหาร ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตอาจจะทำให้เด็กขาดสารอาหารและส่งผลในเรื่องของพัฒนาการต่างๆด้วย บริเวณใบหน้าและช่องปากตลอดจนการเจริญของกระดูกขากรรไกร เด็กที่มีฟันน้ำนมผุจะมีเชื้อโรคในช่องปากมากและมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ฟันแท้ผุ ปัจจัยของการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมที่ส่งผลเสียในวัยเด็กประถมศึกษา มีหลายประการด้วยกันจากปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม และยังมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโรคฟันผุจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่เด็กในวัยนี้ พบว่าเด็กกลัวการรักษาทางทันตกรรม จนทำให้ฟันผุจนทะลุโพรงประสาทฟันเกิดอาการปวด บวม และทรมานเป็นอย่างมาก เด็กเคี้ยวอาหารไม่ได้ ทานอาหารได้น้อยลงเกิดภาวะขาดสารอาหาร จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของเด็ก ตัวแปรที่สำคัญ ที่ทำให้เด็กเจอปัญหาคือเด็กยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำความสะอาดช่องปาก และยังคงมีการเลือกทานขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม ลูกอมอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งตัวแปรเหล่านี้จึงนำมาสู่ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก และเมื่อเด็กมีฟันผุในช่องปากแล้ว โรคฟันผุยังนำไปสู่ปัญหาการติดเชื้อในช่องปาก เด็กที่มีฟันน้ำนมผุรุนแรงและผู้ปกครองไม่เคยพาไปพบทันตบุคลากร เพื่อทำการรักษาจนทำให้ฟันเหลือแต่รากฟัน อยู่ในช่องปากเป็นที่สะสมของเชื้อโรคนำไปสู่โรคที่มีความรุนแรงซับซ้อนมากขึ้น เช่น การอักเสบของลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาของฟันน้ำนมผุในเด็กมีความเกี่ยวข้องต่อการเจริญเติบโตของเด็กด้านร่างกายของเด็กอย่างชัดเจน
ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ในปี 2560 จากการสรุปผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของเด็กประถมศึกษา เด็กในวัยนี้จะเป็นวัยที่ฟันแท้เริ่มขึ้นในช่องปาก บริการที่ต้องการส่วนใหญ่ เป็นบริการเพื่อการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคฟันผุ โดยเป็นความต้องการเคลือบหลุมร่องฟันสูงสุด ร้อยละ 78.3 เฉลี่ย 3 ซี่/คน ความต้องการการรักษาด้วยเทคนิคการอุดฟันเพื่อการป้องกันฟันผุ (PRR: Preventive Resin Restoration) รองลงมา คือร้อยละ 38.5 ในขณะที่ความต้องการในกลุ่มบริการเพื่อการรักษา เช่น การอุดฟัน ถอนฟัน จะมีสัดส่วนที่น้อยกว่า โดยความต้องการอุดฟัน 1 ด้าน มีร้อยละ 21.6 มีฟันผุลุกลามจนจำเป็นต้องรักษารากฟันและถอนฟัน ร้อยละ 6.1 และ 6.2 ตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุข, 2555 ) และจากการสำรวจพบว่าเด็กวัยเรียนในตำบลคลองรีทั้ง 4 โรงเรียน ร้อยละ 58.7 สภาวะโรคฟันผุในฟันถาวรพบว่า ฟันดีไม่มีผุ (Cavity free) ร้อยละ 66.7 ความชุกของโรคฟันผุในเด็ก คิดเป็นร้อยละ 52.0 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด (DMFT) เท่ากับ 1.4 ซี่/คน เป็นฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 31.5 มีฟันอุดร้อยละ 31.1 และมีการสูญเสียฟัน ร้อยละ 3.0 และจากการสำรวจยังพบว่าความชุกของการเกิดโรคฟันผุสูงสุดในภาคใต้ร้อยละ 44.0 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.1 ซี่/คน และอีกหนึ่งปัญหาคือสภาวะปริทันต์ในเด็กวัยเรียนคือ การมีเหงือกอักเสบและการมีหินน้ำลาย จากการสำรวจพบว่าเด็ก ร้อยละ 66.3 มีเหงือกอักเสบ โดยร้อยละ 34.5 มีเลือดออกและร้อยละ 31.8 ภาคใต้มีเด็กที่มีเหงือกอักเสบมากที่สุดร้อยละ 75.2 โรคฟันผุและเหงือกอักเสบถือว่ายังคงเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข (สำนักงานทันตสาธารณสุข, 2560)
ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กวัยเรียนให้ความสำคัญในด้านทันตสุขภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นการส่งเสริมป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากลุกลามและทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป เจ้าหน้าที่ ทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองรี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มเด็กประถม “ฟันสวย ยิ้มใส” ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2566
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเทอมละ 1 ครั้ง 2. เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง 3. เพื่อสอนให้นักเรียนรู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีและตระหนักถึงความสำคัญของแปรงฟันและรักษาสุขภาพช่องปาก 4. เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ ได้เข้าถึงการรับบริการทางทันตกรรมตามความเหมาะสม
|
ขั้นเตรียมการ 1. เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2. จัดประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรมแก่ คุณครู นักเรียน และทันตบุคลากร 3. จัดเตรียมสิ่งสนับสนุน - แบบบันทึกทันตสุขภาพ - แผ่นพับความรู้ และไวนิล เรื่อง การดูและสุขภาพช่องปาก แปรงฟัน - โมเดลสอนแปรงฟัน แปรงสีฟัน และยาสีฟัน
ขั้นดำเนินการ
ให้บริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กนักเรียน รายละเอียดดังนี้
1. ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนในโรงเรียนทุกคน ในตำบลคลองรี และลงบันทึกในแบบตรวจสุขภาพช่องปาก
2. ให้ทันตสุขศึกษา แจกแผ่นพับความรู้ เรื่อง ฟันผุ เหงือกอักเสบ และการรับประทานอาหาร
3. มอบแปรงสีฟันและยาสีฟัน พร้อมกับสาธิตการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี โดยให้กลุ่มเป้าหมายปฏิบัติ ตามทุกขั้นตอน
4. แก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากให้กับเด็กนักเรียนที่มีปัญหาทันตสุขภาพ เช่น อุดฟัน ถอนฟัน เคลือบฟลูออไรด์
เคลือบหลุมร่องฟัน และขูดหินน้ำลาย
- เกิดความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของเด็กวัยเรียน 2 .นักเรียนในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ แปรงฟันได้ด้วยตนเองอย่างถูกวิธี
- นักเรียนในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ มีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นักเรียนในโรงเรียนเขตรับผิดชอบสามารถดำเนินการสานต่อกิจกรรมที่มีในโครงการได้
- นักเรียนในโรงเรียนเขตรับผิดชอบเลือกซื้อ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- นักเรียนในโรงเรียนเขตรับผิดชอบมีฟันผุลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2566 13:58 น.