กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปิงปอง 7 สี สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน เฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง) ปีงบประมาณ 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปิงปอง 7 สี สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน เฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง) ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,925.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 172 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
50.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ จากสถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยังตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง ปีงบประมาณ 2565 จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 1,408 คน พบกลุ่มเสี่ยง14 คน ร้อยละ 0.99 กลุ่มเป้าหมายการคัดกรองโรคเบาหวาน 1,633 คน พบกลุ่มเสี่ยง 41 คน ร้อยละ 2.51 ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างเสริมสุขภาพตามหลักสุขภาพ 3 อ.2 ส.และมีความรู้ความเข้าใจภาวะสุขภาพปิงปอง 7 สี
  1. แกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจภาวะสุขภาพปิงปอง 7 สี
60.00 60.00
2 2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน
  1. กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่นพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง
50.00 60.00
3 3. รณรงค์สร้างกระแสการตรวจสุขภาพต่อเนื่องโดยชุมชน
  1. ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นเท่าเดิมหรือน้อยกว่าเดิม
50.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ/อบรมฟื้นฟู แก่แกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 3,650.00 -
1 ก.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 มีการจัดทำปิงปอง 7 สี ในชุมชนให้มีประสิทธิภาพชุมชน จำนวน 172 คน 0 22,075.00 -
1 ก.ค. 66 - 8 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในในกลุ่มเสี่ยงโดยแกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 14 คน 0 4,200.00 -
รวม 0 29,925.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาวะโรคความดันโลหิตสูงเบาหวาน
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในเรื่อง อาหารอารมณ์ออกกำลังกายบุหรี่และสุรา
  3. กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงการพัฒนาตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวและประชาชนทั่วไปได้
  4. ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล สุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว
  5. เกิดรูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพภาคประชาชนในชุมชน
  6. เกิดบุคคลต้นแบบของการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานสามารถเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ได้จาก ประสบการณ์ การดําเนินวิถีชีวิตที่เป็นจริง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 00:00 น.